ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในแนวร่องน้ำลึกนันไก ‘แนวร่องลึกนันไก’ หรือ ‘นันไกทรัฟ’ (Nankai Trough) เป็นร่องน้ำลึกใต้ทะเลที่ตั้งอยู่ทางใต้ของนันไกโด (Nankaido region) หรือภูมิภาคทะเลใต้บนนเกาะฮอนชูของญี่ปุ่น ทอดตัวออกไปห่างจากชายฝั่งประมาณ 900 กิโลเมตร โดยบริเวณรอยเลื่อนนันไกเมกะทรัสต์ (Nankai megathrust) เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนันไกเมกะทรัสต์ (การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก) ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรก หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในภูมิภาคตะวันออกของญี่ปุ่นในปี 2011 ได้ผ่านไปกว่า 10 ปี ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็พยายามเพิ่มความเข้มแข็งด้านการป้องกันภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม งบประมาณของรัฐก็มีจำกัด ทำให้การเสริมสร้างความแข็งแรงต่อแผ่นดินไหวของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำประปาและสะพานมีความล่าช้า การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์ที่สูงขึ้น ทำให้การเตรียมตัวสำหรับ “วิกฤต” ยังคงมีความกังวลอยู่
เตรียมรับมือเฝ้าระวัง “แผ่นดินไหวนันไกทรัฟ” ที่สามารถสร้างความรุนแรงและเสียหายเป็นวงกว้าง คาดเกิดทุก ๆ 100-150 ปี หลังแผ่นดินไหวระดับ 7.1 แมกนิจูด ที่ฟูกูโอกะ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในแนวร่องน้ำลึกใต้ดินนันไก ซึ่งอาจส่งผลกระทบในวงกว้าง คาดการณ์ว่าความเสียหายจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วประเทศ โดยคาดว่าความเสียหายจะมีมูลค่าถึง 220 ล้านล้านเยน ตามการประมาณของรัฐบาล ซึ่งเป็นมากกว่าแผ่นดินไหวในภูมิภาคตะวันออกของญี่ปุ่นถึง 10 เท่า
ไม่เพียงแต่แผ่นดินไหวในแนวร่องน้ำลึกนันไกเท่านั้นที่ถูกคาดการณ์ว่าอาจเกิดขึ้น ยังมีแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงโตเกียว และภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในไต้หวัน จำเป็นต้องมีการเตรียมงบประมาณในช่วงเวลาปกติ
ทรัพยากรพื้นฐานเช่น น้ำประปาและสะพานกำลังเสื่อมสภาพ แม้ว่าจะมีการพยายามเสริมสร้างความแข็งแกร่งต่อแผ่นดินไหว แต่ในปี 2022 อัตราการปรับปรุงให้ท่อส่งน้ำประปาหลักทนต่อแผ่นดินไหวได้เพียง 42.3% เท่านั้น รัฐบาลตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 54% ภายในปี 2025 และ 60% ภายในปี 2028 ในปี 2022 มีการปรับปรุงเพิ่มขึ้นเพียง 1.1% จากปีที่แล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้การบรรลุเป้าหมายเป็นเรื่องยาก
สำหรับสะพานที่สร้างมาแล้วกว่า 50 ปี ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 30% ในปี 2020 แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 75% ในปี 2040 โดยประมาณ 20% ของสะพานที่อยู่บนถนนสายการขนส่งฉุกเฉิน ซึ่งใช้ในการอพยพและช่วยเหลือในภัยพิบัติ ยังไม่ได้รับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งต่อแผ่นดินไหว
บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง และมักเกิดความเสียหายรุนแรงจากพายุไต้ฝุ่น ภัยพิบัติขนาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก และมีผลต่อไทยที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับญี่ปุ่น ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในภูมิภาคตะวันออกของญี่ปุ่นในปี 2011 มีผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และส่งผลให้จำนวนคนท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาประเทศไทยลดลง คาดการณ์ว่าความเสียหายในญี่ปุ่นจากแผ่นดินไหวในแนวร่องน้ำลึกนันไกจะมีมูลค่า 220 ล้านล้านเยน ซึ่งมากกว่าแผ่นดินไหวในภูมิภาคตะวันออกของญี่ปุ่นถึง 10 เท่า ในขณะที่ หลายๆ โครงสร้างทางสาธารณูปโภคของญี่ปุ่น มีการก่อสร้างมานานแล้ว และกำลังเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจไม่สามารถทนทานต่อแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นคาดว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีการเร่งปรับปรุงเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลต่อความต้องการวัสดุก่อสร้างจำนวนมากใน 15 ปี นับจากนี้
ข้อคิดเห็น/เสนอแนะของ สคต.
การเพิ่มอัตราการปรับปรุงให้ท่อส่งน้ำประปาและสะพานทนต่อแผ่นดินไหวได้เป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับญี่ปุ่น บทความในหนังสือพิมพ์ Nikkei เมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมาเผยว่ามีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งต่อแผ่นดินไหวของเสาหลักของทางด่วนเพียง 10% (Nikkei, 13 ตุลาคม 2023) อีกทั้งยังมีรายงานว่าอาคาร 2,600 แห่งที่อยู่ตามแนวถนนฉุกเฉินในเขตเมืองหลวง มีความเสี่ยงที่จะถล่ม (Nikkei, 29 สิงหาคม 2023) รวมถึงการก่อสร้างใหม่ของคอนโดมิเนียมที่เข้าข่ายด้วย จากสถานการณ์เหล่านี้ คาดการณ์ว่าความต้องการวัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นในช่วง 10-20 ปีข้างหน้า เป็นโอกาสวัสดุก่อสร้างที่คาดว่าจะนำเข้าประเทศญี่ปุ่น อาทิ คอนกรีต ซีเมนต์ เหล็กกล้า และโพลีเอทิลีน ผู้ส่งออกของไทยที่เกี่ยวข้องควรพิจารณามุ่งเน้นการทำตลาดในญี่ปุ่น
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ฉบับที่ 46 วันที่ 10 – 16 สิงหาคม 2567 จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei News ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2567