อินเดีย เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาไม่กี่ประเทศที่พึ่งพาตนเองด้านอาหารได้ แต่ยังมีการนำเข้าอาหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นมูลค่า 33 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2566 แม้ว่าจะขยายตัวลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
โดยจากรายงานของหน่วยงานวิจัยนโยบายทางการค้า พบว่ามากกว่าครึ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันพืช รองมาคือ กลุ่มผลไม้ ธัญพืช (พืชตระกูลถั่ว) และเครื่องเทศ ซึ่งสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันพืช ธัญพืช และผลไม้แห้ง คิดเป็นร้อยละ 72.1 ของการนำเข้าสินค้าเกษตรทั้งหมด โดยมีรายละเอียดรายการสินค้า มูลค่า และแหล่งนำเข้าสำคัญ ดังนี้
- กลุ่มผลไม้ (แห้งและสด) ในปี 2566 มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 4 พันล้านเหรียญ ในปี 2566
โดยจำแนกตามรายการสินค้าได้ ดังนี้
– ผลไม้สด ประกอบด้วย
รายการ | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) | แหล่งนำเข้าหลักของอินเดีย |
แอปเปิ้ล – 080810 | 350.7 | ตุรกี อิตาลี อิหร่าน โปแลนด์ แอฟริกาใต้ |
ส้มเปลือกบาง – 080510 | 90.9 | อิยิปต์ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ แคนาดา |
ส้มแมนดาริน – 080520 | 14.8 | ไม่ระบุ |
องุ่น – 080610 | 22.1 | จีน อัฟนิสถาน ชิลี อิยิปต์ ออสเตรเลีย |
กีวี – 081050 | 67.0 | ชิลี กรีซ อิตาลี นิวซีแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ |
ลูกแพร์ – 080830 | 26.9 | แอฟริกาใต้ ชิลี สหรัฐเอมิเรสต์ อาร์เจนติน่า เนเธอร์แลนด์ |
ผลไม้อื่นๆ | 40.9 | ไม่ระบุ |
– ผลไม้แห้ง ประกอบด้วย
รายการ | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) | แหล่งนำเข้าหลักของอินเดีย |
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ – 080131 | 1,400 | กานา โกตดิวัวร์ โตโก แทนซาเนีย ไนจีเรีย |
อัลมอนด์ – 080211 | 930 | สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อัฟกานิสถาน แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ |
วอลนัท – 080231 | 235 | ชิลี สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ แคนาดา |
ลูกหมาก – 080280 | 130.2 | ศรีลังกา อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เมียนมา บังกลาเทศ
ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 7 มูลค่า 85,753 เหรียญสหรัฐ (ณ ส.ค. 66) |
อินทผลัม – 080410 | 210 | สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อิรัก อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย ตูนีเซีย |
มะเดื่อ – 08042002 | 127.2 | อัฟกานิสถาน ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อิหร่าน ไทย |
ลูกเกด – 080620 | 75.7 | อัฟกานิสถาน กรีซ อิหร่าน จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ |
- กลุ่มธัญพืช (พืชตระกูลถั่ว) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญที่อินเดียนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2566 โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 จากปีก่อนหน้า
- กลุ่มเครื่องเทศ มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2566 โดยสินค้าอินเดียนำเข้าหลัก อาทิ พริกไทย อบเชย กานพลู เมล็ดโป๊ยกั๊ก ขิง หญ้าฝรั่น และขมิ้น
รายการ | แหล่งนำเข้าหลักของอินเดีย |
พริกในตระกูลไปเปอร์ – 09041200 | เวียดนาม ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร นครรัฐวาติกัน โอมาน |
อบเชย – 0906 | เวียดนาม ศรีลังกา อินโดนีเซีย จีน เนปาล |
กานพลู – 090710 | มาดากัสการ์ ศรีลังกา คอโมโรส แทนซาเนีย อินโดนีเซีย |
ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น – 0910 | ไนจีเรีย อัฟกานิสถาน เนปาล สหรัฐอาหรัลเอมิเรสต์ กัมพูชา
ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 12 มูลค่า 478,202 เหรียญสหรัฐ (ณ ส.ค. 66) |
นอกจากนี้ อินเดียยังมีการนำเข้าน้ำตาลคิดเป็นมูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าอินเดียเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับสองของโลก รองจากบราซิล แต่ในปี 2566 เนื่องจากฝนแล้งส่งผลให้ผลผลิตในประเทศอินเดียลดลงและจำเป็นต้องนำเข้าน้ำตาลในปริมาณมาก
ความเห็น สคต. ณ เมืองเจนไน
แม้ว่าอินเดียจะเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก อย่างไรก็ดี ด้วยความเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก จึงทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตร และอาหารปริมาณมากเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรของอินเดียในแต่ละฤดูกาลอาจมีความผันผวนตามสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในบางฤดูกาลมีไม่เพียงพอ ประกอบกับเทคโนโลยีการเก็บรักษาสินค้าเกษตรของอินเดียที่ยังไม่ได้มาตรฐานทำให้ผลผลิตเน่าเสียมากกว่าครึ่งของปริมาณการผลิต ส่งผลให้อินเดียยังมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าเกษตรในปริมาณมาก ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจส่งออกสินค้าเกษตรมายังอินเดีย สามารถศึกษาข้อมูลและขอใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA อาเซียน-อินเดีย ในการลดอัตราภาษีนำเข้าของอินเดียได้ เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันทางราคาในตลาดอินเดีย โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการออกFORM AI ได้ที่สายด่วน 1385 กรมการค้าต่างประเทศ
นอกจากนี้ ในกรณีที่ส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าสด ผู้ประกอบการไทยควรให้ข้อมูลแก่ผู้นำเข้าอินเดียถึงวิธีการเก็บรักษาและดูแลสินค้าเพื่อให้สินค้าไทยที่ส่งออกและวางจำหน่ายในตลาดอินเดียคงความสด ใหม่ และยืดระยะเวลาให้สินค้าอยู่บนชั้นวางจำหน่ายได้นานยิ่งขึ้น
แหล่งที่มา:
- Financial Express – India’s food imports at $33 billion in 2023, down 10% on year – January 2, 2024.