ชาวฮ่องกงและธุรกิจต่างๆ เริ่มขยายตัวสู่พื้นที่ GBA (Greater Bay Area)

ชาวฮ่องกงและธุรกิจต่างๆ เริ่มขยายตัวสู่พื้นที่ GBA (Greater Bay Area)

วันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ ถือเป็นวันครบรอบห้าปีนับตั้งแต่ปักกิ่งเปิดเผยร่างพิมพ์เขียว (Blueprint) เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ GBA  ให้กลายเป็นมหาอำนาจทางเทคโนโลยีด้วยนวัตกรรม ภายในปี 2578  โดยพื้นที่ GBA  ประกอบด้วยฮ่องกง มาเก๊า และ 9 เมืองในกวางตุ้ง         (กวางโจว เซินเจิ้น จูไห่ ฝอซาน ฮุ่ยโจว ตงกวน จงซาน เจียงเหมิน และจ้าวชิง) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 56,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าฮ่องกงถึง 50 เท่า โดยมีประชากรทั้งหมดมากกว่า 86 ล้านคน

ชาวฮ่องกงที่เข้าไปทำงานและอาศัยอยู่ในพื้นที่ GBA มีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากได้รับความอำนวยความสะดวกด้านขนส่งบริเวณพื้นที่ GBA  และการอนุญาตเดินทางไปทางเหนือแก่ยานพาหนะของฮ่องกง รวมถึงจุดตรวจแห่งใหม่ที่ทำให้ผู้คน และสินค้าสามารถเคลื่อนย้ายข้ามชายแดนได้ง่ายขึ้น  ชาวฮ่องกงเดินทางข้ามพรมแดนจำนวนมากกว่า 53 ล้านครั้งในปีที่ผ่านมา และในช่วงเทศกาลตรุษจีนกรมตรวจคนเข้าเมืองคาดว่าจะมีชาวฮ่องกงและผู้มาเยือนมีจำนวน 7.5 ล้านเที่ยว ระหว่างวันที่ 9 – 17 กุมภาพันธ์ นี้  จากการสำรวจสำมะโนประชากรของจีนของปี 2564 ชาวฮ่องกงมากกว่า 371,000 คน ที่อาศัยพื้นที่  GBA คิดเป็นประมาณร้อยละ 5 แม้กระทั่งวัยรุ่นชาวฮ่องกงที่เคยลังเลกับความคิดที่จะเรียนหรือทำงานในจีน ก็เริ่มมีความคิดเปลี่ยนไป

แผนร่างพิมพ์เขียวสำหรับเมืองฮ่องกง (Blueprint’s key roles for Hong Kong)

การเป็นผู้นำเศรษฐกิจในพื้นที่ Greater Bay Area เพราะฮ่องกงถูกวางให้มีบทบาทสำคัญในอ่าวนี้ในการพัฒนาและฟื้นฟู    เศรฐกิจสู่ประเทศจีน

เขตบริหารพิเศษฮ่องกงเป็นเมืองที่ประเทศจีนวางยุทธศาสตร์ให้เป็นมหานครนานาชาติ (International Metropolis) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศที่สำคัญ และเป็นเมืองหน้าด่านเชื่อมโยงประเทศจีนกับโลกสากล  ทั้งนี้ อดีตผู้นำฮ่องกง นาย Leung Chun-ying, กล่าวว่า การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสำหรับในร่างพิมพ์เขียว (Blueprint)  “การเชื่อมโยงเมืองต่างๆ ได้พัฒนาขึ้น” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดตรวจแห่งใหม่ Heung Yuen Wai ในเขตทางเหนือของฮ่องกงที่เปิดให้ผู้โดยสารข้ามพรมแดนเมื่อปีที่แล้ว รวมถึงการลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับผู้อยู่อาศัยทำงานในเขตหนานซาของกว่างโจวระหว่างปี 2563 – 2569  แม้กระทั้งสถาบันการศึกษาของฮ่องกงได้ก่อตั้งวิทยาเขตใหม่เพื่อรองรับให้กับชาวฮ่องกง  นอกจากนี้   พบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวฮ่องกงเดินทางข้ามแดนเพื่อไปซื้อของและรับประทานอาหารในราคาที่ถูกกว่าในฮ่องกง ซึ่งนาย Leung Chun-ying กล่าวว่าผู้ประกอบการร้านอาหารในฮ่องกงควรพิจารณาขยายตลาดและย้ายฐานการค้าไปยังบริเวณอ่าว GBA เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสมาคมและภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มการบริการข้ามพรมแดนเพื่อสนับสนุนและเอื้อประโยชน์ให้แก่สมาชิกของพวกเขา

ชาวฮ่องกงและธุรกิจต่างๆ เริ่มขยายตัวสู่พื้นที่ GBA (Greater Bay Area)

ชาวฮ่องกงรุ่นใหม่เข้าไปทำงานในพื้นที่ GBA เพิ่มขึ้น   การสำรวจล่าสุด สมาคมเยาวชนฮ่องกง-กวางตุ้ง พบว่าผู้คนประมาณ 1,000 คนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี เต็มใจที่จะทำงานในพื้นที่ GBA มากขึ้น เปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 ในปี 2562 และร้อยละ 66 ในปีที่แล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าว ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (หน่วยงานที่สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี)  จำนวน 80 แห่ง ได้เปิดในพื้นที่ GBA เพื่อดึงดูดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในฮ่องกงและมาเก๊าให้มาพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ  เพื่อให้สอดคล้องรัฐบาลควรมีนโยบายพิเศษมากขึ้น เช่น เงินอุดหนุนค่าเช่าและที่อยู่อาศัย มีศูนย์บ่มเพาะ การสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ธุรกิจต่างๆ จัดตั้งได้ง่ายขึ้น  ซึ่ง ศาสตราจารย์ Christopher Cha Yu-hang, Vice-president of research and innovation ณ  Hong Kong’s Polytechnic University ได้ข้อคิดเห็นว่ากลุ่ม Start Up ในฮ่องกงส่วนใหญ่ต้องการเข้าไปตลาดจีนเพิ่มขึ้น

ถึงเวลาที่ฮ่องกงควรเร่งรีบ   แผนร่างในพิมพ์เขียวของปักกิ่งสำหรับพื้นที่ GBA ของปี 2019 ฮ่องกงได้รับการคาดหวังให้พัฒนาชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกและพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ แต่นักวิชาการมองว่ายังพัฒนาได้ช้า ถึงแม้ว่าฮ่องกงมีความก้าวหน้าในด้านข้อมูลและเทคโนโลยีและมีจุดแข็งคือเป็นด่านเชื่อมโยงประเทศจีนกับโลกซึ่งสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการค้า รวมถึงความได้เปรียบในด้านการออกแบบ การวิจัยขั้นพื้นฐาน ระบบการจัดการ และการไหลของเงินทุนต่างประเทศสามารถดึงดูดตลาดต่างประเทศและค่อยๆเชื่อมต่อไปจีน อีกทั้งรัฐบาลยังต้องเร่งการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและจัดทำแผนที่ชัดเจนสำหรับเขตความร่วมมือด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใน Lok Ma Chau Loop ซึ่งตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเซินเจิ้น  โซนนี้จะมีศูนย์นวัตกรรมระดับนานาชาติในพื้นที่ 300 เฮกตาร์ (741 เอเคอร์) ทางฝั่งเซินเจิ้นและอีกพื้นที่ 87 เฮกตาร์ที่ Lok Ma Chau Loop ฝั่งฮ่องกง  สิ่งอํานวยความสะดวกบางอย่างในเซินเจิ้นได้เริ่มดําเนินการ ในขณะที่ฮ่องกงยังคงพัฒนาอาคารสามหลังแรกซึ่งจะแล้วเสร็จปลายปีนี้

ความคิดเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงิน และการลงทุน มีระบบมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก การพัฒนาระบบเชื่อมต่อข้อมูลกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ GBA จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุน อีกทั้งฮ่องกงมีข้อได้เปรียบเชิงกฎหมาย เศรษฐกิจการค้า และเครือข่ายระดับโลก ตลอดจนการไหลเวียนของเงินทุนและข้อมูลอย่างเสรี  ซึ่งเป็นประโยชน์และผลดีต่อผู้ประกอบการสินค้าและบริการของไทยที่สามารถใช้ฮ่องกงเป็นจุดเริ่มต้นในการบุกตลาดจีนต่อไป                                                                  

แหล่งข้อมูล https://www.scmp.com/news/hong-kong/hong-kong-economy/article/3251842/hong-kong-residents-businesses-slowly-waking-greater-bay-areas-potential-more-needs-be-done-say

 

zh_CNChinese