สถานการณ์การค้าประเทศออสเตรเลีย เดือนธันวาคม 2566

金融情况

–  การเติบโตทางเศรษฐกิจออสเตรเลียไตรมาสเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 (ขยายตัว 9 ไตรมาสติดต่อกันแต่เป็นไตรมาสที่มีการขยายตัวต่ำสุด)  และมีการขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี (ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2533) จากการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนของภาคธุรกิจเป็นกลไกขับเคลื่อน โดยการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าและบริการทางการแพทย์ รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพที่ชาวออสเตรเลียเผชิญอยู่ การลงทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนประเภท Non-dwelling building เช่น การก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์อื่นๆ แต่การลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆลดลงร้อยละ 1.3 ด้านการค้าออสเตรเลียหดตัวลง ผลจากการส่งออกสินค้าออสเตรเลียลดลงร้อยละ 0.3 (การส่งออกทองคำและสินค้าเกษตรลดลง) แต่การส่งออกถ่านหินยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 สินแร่โลหะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และภาคบริการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี สำหรับการนำเข้าสินค้าและบริการหดตัวลงร้อยละ 3.4 (ผลจากการบริโภคในประเทศรวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศลดลง) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนค่อนข้างซบเซามีการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากชาวออสเตรเลียเน้นการใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเป็นหลัก อัตราการออมเงินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.2 คาดว่า เดือนมีนาคมธนาคารกลางออสเตรเลียจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.35 เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่ปรับลดลง (ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.1)  การเติบโตของ GDP ต่อหัวออสเตรเลียหดตัวร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของประชากรออสเตรเลีย สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจออสเตรเลียกำลังหดตัว คาดว่า การกำหนดแผนงบประมาณการใช้จ่ายประจำปี 2567-2568 รัฐบาลกลางออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม จะมุ่งเน้นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจออสเตรเลียเป็นหลัก

สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย

ปี 2566 สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 370,904 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 10.12) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 34.92) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 27.94) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 5.76) ข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.49) แร่ลิเทียม (ร้อยละ 3.46) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและไต้หวัน สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ข้าวสาลีและเมสลิน ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป และเนื้อสัตว์)

ปี 2566 การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 275,143 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 4.81) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.66 ) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.70) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.07) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.51) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 4.03) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ปี 2566 ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 95,761 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ กระสอบและถุง (รวมถึงกรวย)  และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 6,726 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (235,410 ล้านบาท)

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 32,763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 9.13) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 32.94) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 31.89) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 6.17) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.39) ข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.39) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้  อินเดียและฮ่องกง สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 15 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื้อสัตว์สำหรับบริโภคและไวน์)

สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 21,894 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 5.10)  โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 16.33) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.68) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.28) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 11.41) และอุปกรณืและเครื่องใช้ที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.67) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์  ซึ่งในเดือนธันวาคม 2566 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 10,869 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ น้ำมันปิโตรเลียม เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ และยางรถยนต์ใหม่)

สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [1]

เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
ปี 2022

(%)

ปี 2023

(%)

ปี 2022 ปี 2023 ปี 2022 ปี 2023 ปี 2022 ปี 2023
  ม.ค-ธ.ค. +/- (%)   ม.ค-ธ.ค. +/- (%)   ม.ค-ธ.ค. +/- (%)
2.0

(1.77)

2.0 18,315.60

(6.27)

18,979.28 3.62 11,154.06

(1.77)

12,106.0 8.21 7,128.32

(13.59)

6,873.28 -3.58

[1] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สถิติการส่งออก-นำเข้าของไทยในตลาดออสเตรเลีย (รายเดือน)

  • การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนธันวาคม ปี 2566 มีมูลค่า 1,096.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (39,477.6 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.79 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเหล็กและผลิตภัณฑ์ แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและอาหารทะเลกระป๋องลดลง
  • การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนธันวาคม ปี 2566 มีมูลค่า 241.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (8,708.4 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ41 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี สินแร่โลหะอื่นๆ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ถ่านหิน นมและผลิตภัณฑ์นม ด้ายและเส้นใย เคมีภัณฑ์และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แต่การนำเข้าน้ำมันดิบและเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคเพิ่มขึ้น
zh_CNChinese