โครงการ “การส่งเสริมการค้าและการลงทุนด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างออสเตรเลียและเวียดนาม” อยู่ในโครงการ Grant Program to Enhance Economic Cooperation ระหว่างออสเตรเลียและเวียดนาม (AVEG – Round 02) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย (Department of Foreign Affairs and Trade: DFAT) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ถึงพฤษภาคม 2577 ซึ่งโครงการนี้บริหารจัดการโดยบริษัทเอกชน Mekong Organics ของออสเตรเลีย
ในการดำเนินโครงการข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 18-21 มกราคม 2567 สมาคมเกษตรอินทรีย์เวียดนาม (Vietnam Organic Agriculture Association: VOAA) ประสานงานกับ Mekong Organics เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ หลักสูตรการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับเตรียมตัวในการส่งออกสินค้าเกษตร สัมมนาในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเกษตรอินทรีย์ของออสเตรเลีย-เวียดนาม และมีการเยี่ยมชมสวนผักอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน PGS Vietnam (Participatory Guarantee System : PGS) ที่สวนเกษตรอินทรีย์ Darwin ในชุมชน Ngoc Thang จังหวัด Vinh Phuc ภาคเหนือของเวียดนาม โดยในกิจกรรมต่างๆ มีผู้เชี่ยวชาญของคณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (Ministry of Agriculture and Rural Development: MARD) ผู้เชี่ยวชาญของ สมาคมเกษตรอินทรีย์เวียดนาม ผู้เชี่ยวชาญจาก Australian Export Council ที่มีธุรกิจและองค์กรได้รับการรับรองและการฝึกอบรมจากออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆและภาคธุรกิจทั่วไปเกือบ 30 รายจากภาคเหนือของเวียดนามเข้าร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์การด้านเกษตรอินทรีย์และการค้า
นางสาว Le Thi Thanh Huong หัวหน้าสำนักงาน VOAA กล่าวว่า เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่เก็บรักษาคุณภาพของดินและระบบนิเวศ โดยผลิตภัณฑ์จะมีความปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคน เนื่องจากไม่มียาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช สารกระตุ้นการเจริญเติบโต และจากการตัดต่อทางพันธุกรรมของพืช
โดยในปี 2563 เวียดนามนำเข้าสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์อินทรีย์มากถึง 2.2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 263 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยพื้นที่ในเวียดนามที่มีการบริโภคที่มากที่สุด มี 2 แห่งคือกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคปัจจุบันมีโอกาสที่ดีในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โดยจากการกำกับ สร้างเงื่อนไข และมีนโยบายสำคัญในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของเวียดนามทำให้ได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการอย่างกว้างขวางกับประเทศต่างๆในทั่วโลก การที่เวียดนามเข้าร่วมในข้อตกลงทางการค้าหลายฉบับ
ทั้งระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ (เช่น WTO, FTA, CPTPP เป็นต้น) ส่งผลให้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์เปิดกว้างมากขึ้น ทั้งในประเทศและการส่งออก
นอกจากนั้น ออสเตรเลียและเวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการทูตภายใต้กรอบความร่วมมือและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมมาเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว โดยปัจจุบันออสเตรเลียได้นำเข้าสินค้าเกษตรต่างๆ เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง แก้วมังกร ลำไย
และกุ้งแช่แข็งของเวียดนาม ปัจจุบันเวียดนามอยู่ระหว่างการผลักดันให้ออสเตรเลียอนุญาตให้นำเข้าเสาวรส เงาะ มะเฟือง
มะพร้าวสด ทุเรียนและกุ้งสดทั้งตัว ขณะที่ออสเตรเลียขอให้เวียดนามนำเข้าเนื้อกวาง เนื้อจิงโจ้ น้ำผึ้ง ลูกพีช และ
เนคทารีน
ในช่วงที่ผ่านมา เวียดนามมีการออกนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตรูปแบบอินทรีย์และการทำนา เช่น กฤษฎีกา 109/2018/ND-CP ว่าด้วยการจัดการเกษตรอินทรีย์ของภาครัฐและโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์สำหรับช่วงปี 2563-2573
(ในมติ 885 /CP-TTg ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2563)
โครงการการส่งเสริมการค้าและการลงทุนด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างออสเตรเลียและเวียดนาม ได้คัดเลือกผู้ประกอบการและสหกรณ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความพร้อมที่จะส่งออกสินค้าเกษตรจำนวน 27 คน ซึ่งหลักสูตรอบรมนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจในกระบวนการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์มาสู่ธุรกิจและเชื่อมโยงกับการพัฒนาตลาด
(จาก https://en.vietnamplus.vn/)
ข้อคิดเห็น สคต
ในเวียดนามภาคการเกษตรกรรมเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญ ภายในปี 2573 เวียดนามตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการเกษตรกรรมทั่วไปให้มาใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเน้นเกษตรอินทรีย์ สอดคล้องกับตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทำให้เวียดนามหันมาปรับปรุงอุตสาหกรรมเกษตร ให้ความสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร พัฒนาวัตถุดิบให้มีคุณภาพสูง โดยในปี 2568 เวียดนามจะมีโครงการสร้างพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานของเวียดนามหรือมาตรฐาของต่างปรเทศ 32 แห่ง รวมพื้นที่กว่า 1,312 ไร่ และภายในปี 2573 คาการณ์ว่าพื้นที่เกษตรอินทรีย์จะสูงกว่า
2,500 ไร่ โดยมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์จะสูงกว่ามูลค่าการผลิตเกษตรทั่วไปถึง 1.5 – 1.8 เท่า การที่เวียดนามมุ่งเน้นในการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรอินทรีย์จะส่งเสริมความสามารถในการเข้าตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดที่มีมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เข้มงวดอย่างเช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ออสเตรเลีย ทั้งนี้เวียดนามกำลังขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้อาจเพิ่มโอกาศให้กับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้ามายังเวียดนามและสามารถลงทุนจัดตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารอินทรีย์ในเวียดนามเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในตลาดโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเวียดนามมีข้อตกลงทางการค้าเสรี เช่น EVFTA (สหภาพยุโรป) และ UKVFTA (อังกฤษ) เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นหรือลดภาษีต่างๆ