ตามข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในสิงคโปร์ เป็นครั้งแรกที่เวียดนามได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในตลาดข้าวสิงคโปร์ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 สิงคโปร์นำเข้าข้าวจากเวียดนามมูลค่าประมาณ
36.15 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (26.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.46 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งรองลงมาคือไทยที่มีมูลค่า 33.63 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (24.69 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในขณะที่อินเดียมาเป็นอันดับสามด้วยมูลค่า 33.16 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (26.35 ล้านเหรียญสหรัฐ) และเวียดนามครองส่วนแบ่งตลาดข้าวในสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 32.03 ซึ่งอินเดียอยู่ในอันดับที่สองอยู่ที่
ร้อยละ 29.7 รองลงมาคือไทยอยู่ที่ร้อยละ 29.3 โดยรวมแล้ว ทั้ง 3 ประเทศมีส่วนแบ่งตลาดข้าวมากกว่าร้อยละ 91 ในสิงคโปร์
ในปี 2567 สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในสิงคโปร์ เห็นว่า สิงคโปร์มีการนำเข้าข้าวหลายชนิดจากแหล่งต่างๆ โดยอินเดียครองส่วนแบ่งตลาดเกือบทั้งหมดในบางชนิดของข้าว เช่น ข้าวนึ่ง (99.29%) และข้าวบาสมาติ (95.66%) แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวอื่นๆ ไทยจะครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด โดยเฉพาะ ข้าวกล้องหอมมาลิ (98.26%) ข้าวขาวหอมมาลิ (96.83%) และข้าวหัก (68.16%) อีกทั้งสำหรับข้าวกล้องทั่วไป ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด (71.72%) จึงเห็นได้ว่า ไทย อินเดีย และญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งรายใหญ่ของเวียดนามในตลาดข้าวสิงคโปร์ อย่างไรก็ดีการห้ามส่งออกข้าวของอินเดียตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เป็นปัจจัยที่ดีสำหรับเวียดนามในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในสิงคโปร์
ข้าวเวียดนามในตลาดข้าวสิงคโปร์นั้นประกอบไปด้วย ข้าวขาวที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด (25.09%) รองลงมาคือ ข้าวหอม (21.82%) ข้าวนึ่ง (19.75%) ข้าวหอมมะลิ (16.43%) และอื่นๆ แต่ปัจจุปันมีการลดลงของกลุ่มข้าวกล้องและข้าวขาว
ทำให้การส่งออกข้าวประเภทอื่นของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาดข้าวสิงคโปร์ เช่น ข้าวเหนียว (3.79 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์) ข้าวหอม (18.06 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์) และข้าวหัก (575,000 ดอลลาร์สิงคโปร์) ซึ่งส่งผลดีต่อข้าวเวียดนามในส่วนแบ่งตลาดข้าวสิงคโปร์ โดยข้าวเหนียวของเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 80.08 และ ข้าวหอมมีส่วนแบ่งตลาด 73.33 จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในตลาดข้าวสิงคโปร์
นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 การส่งออกข้าวทั้งหมดมากกว่า
2.18 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ในด้านปริมาณ และมีมูลค่าประมาณ 1,430 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 โดยราคาเฉลี่ยที่ 653.9 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน
ซึ่งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 และอีกทั้ง ตลาดส่งออกข้าวหลักของเวียดนามในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ยังเป็นฟิลิปปินส์ที่เป็นอันดับหนึ่ง มีปริมาณส่งออกอยู่ที่ 1.01 ล้านตัน และ คิดเป็นมูลค่าเกือบ 649 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นร้อยละ 45.5 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 641.7 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบกับ
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ในอันดับที่สองจะเป็นอินโดนีเซีย ด้วยปริมาณ 445,326 ตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก
285.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 640 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน และมาเลเซีย ส่งออก 98,917 ตัน คิดเป็น 61.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 622.3 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน อย่างไรก็ตาม สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในสิงคโปร์จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพิ่มขึ้น เน้นการจัดแสดงสินค้าข้าว และการนำผู้นำเข้าข้าวของสิงคโปร์เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมข้าวในเวียดนาม จึงต้องการ การสนับสนุนของกระทรวง จังหวัด สมาคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการต่างๆ ของเวียดนาม เพื่อเสริมสร้างกิจกรรมส่งเสริมการค้า ส่งเสริมแบรนด์ข้าวของเวียดนาม และรักษาคุณภาพข้าวของเวียดนาม นอกจากนี้ การลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of understanding: MOU) ว่าด้วยความร่วมมือการส่งออกข้าวระหว่างเวียดนามและสิงคโปร์อาจเป็นโอกาสในการรักษาส่วนแบ่งตลาดของข้าวเวียดนามให้คงอยู่ในอันดับ 1 ในสิงคโปร์ต่อไป
(จาก https://en.vietnamplus.vn/)
ข้อคิดเห็น สคต
จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในสิงคโปร์ ระบุว่า เวียดนามส่งออกข้าว 9 ชนิดไปยังสิงคโปร์
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 110,636 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.15 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2566 นอกจากนั้น
6 ใน 9 ชนิดของข้าวเวียดนามที่ส่งออกมีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยบางชนิดมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงมาก เช่น ข้าวหอม
(เพิ่มขึ้นร้อยละ 165.41) ข้าวเหนียว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 131.95) และข้าวนึ่ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 251.55) ในขณะที่ 3 ใน 9 ของชนิดข้าวที่เหลือมีการส่งออกไปยังสิงคโปร์ลดลง ได้แก่ ข้าวขาว (ลดลงร้อยละ 36.05) ข้าวกล้อง (ลดลงร้อยละ 10.7) และ
ข้าวกล้องหอมมะลิ (ลดลงร้อยละ 0.61) อีกทั้งจากข้อมูลหน่วยงานของสิงคโปร์ Accounting and Corporate Regulatory Authority ได้เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 สิงคโปร์นำเข้าข้าวทั้งหมดมีมูลค่ากว่า 112.9 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.86 เมื่อเทียบเป็นปีต่อปี โดยสิงคโปร์มีแนวโน้มความต้องการนำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2566 เนื่องจาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ การห้ามส่งออกข้าวของอินเดีย และการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของจำนวนนักท่องเที่ยวของสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าต่างๆ จะช่วยให้เกษตรเวียดนามมีโอกาศในการขยายตลาดและเพิ่มมูลค่าการส่งออกข้าวไปยังสิงคโปร์ ซึ่งส่งผลต่อส่วนแบ่งตลาดข้าวของไทย อินเดีย และญี่ปุ่น ในตลาดข้าวสิงคโปร์