ข้าวกัมพูชาเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา

  • เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 นาย Sun Chanthol รองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา หรือ CDC ได้ต้อนรับนาย Patrick Murphy รองประธานบริหารฝ่ายจัดซื้อข้าวและธัญพืชของบริษัท Otis McAllister Inc. และคณะผู้แทนจากสมาพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการแข่งขันในการส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา
  • โดย นาย Patrick Murphy เห็นศักยภาพของข้าวกัมพูชา และแจ้งว่าสหรัฐอเมริกาต้องการข้าวกัมพูชา ดังเช่นในกรณีข้าวหอมกัมพูชาที่ได้ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา แล้ว
  • ในระหว่างการหารือ นาย Sun Chanthol ได้เสนอ นาย Patrick Murphy พิจารณาความเป็นไปได้ในนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรอื่นๆ ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และกล้วย ในอนาคต ด้วย

ข้อมูลที่น่าสนใจจากข่าว 

  1. กัมพูชาส่งออกข้าวจำนวนเล็กน้อยไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ระหว่าง 2,000 – 3,000 ตัน ต่อปี ดังนั้น หาก บริษัท Otis McAllister Inc. ตกลงซื้อข้าวจากกัมพูชา ปริมาณการส่งออกข้าวจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 5,000 – 20,000 ตัน ต่อปี
  2. ในแต่ละปีกัมพูชาผลิตข้าวเปลือกได้มากกว่า 12 ล้านตัน หรือประมาณ 7 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งมากกว่า50% ของความต้องการภายในประเทศ
  3. ในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. – พ.ค.) ของปี 2567 กัมพูชาส่งออกข้าวมากกว่า 300,000 ตัน ไปยังจุดหมายปลายทางเกือบ 50 ประเทศ โดยมีตลาด จีน และสหภาพยุโรป เป็นตลาดหลัก
  4. Otis McAllister Inc. เป็นหนึ่งในบริษัทอาหารที่เก่าแก่ที่สุดใน San Francisco Bay ปัจจุบันบริษัทมีสำนักงานใหญ่ใน Oakland และดำเนินธุรกิจในกว่า 16 ประเทศทั่วโลก

ความเห็นของสำนักงานฯ

  1. สหรัฐอเมริกา เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของกัมพูชารองจากจีน และยังเป็นตลาดเป้าหมายสำหรับการส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้า และรองเท้า ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออก 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 2567 อยู่ที่ 61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
  2. สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งแนวโน้มบริโภคข้าวหอมมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีหลายเชื้อชาติ ทำให้ความต้องการข้าวหอมมีจำนวนมาก ดังนั้น หากมีคำสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นในอนาคตจะสามารถดูดซับข้าวหอมจากกัมพูชาได้มากเป็นสองเท่าของสหภาพยุโรป
  3. กัมพูชายังขาดโรงสีข้าวและขาดแคลนเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแปรรูปข้าวให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับ การขยายตลาดสำคัญของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นต้น ดังนั้นรัฐบาลกัมพูชาจึงสนับสนุนให้นักลงทุนจากต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในด้านนี้ สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งถือเป็นโอกาสของไทยในการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องในเรื่องข้าว นำความรู้ความชำนาญต่างๆ เข้ามาในกัมพูชา ไม่ว่าจะในรูปแบบของการร่วมทุน หรือการเป็นบริษัทที่ปรึกษา

 

————————–

ที่มา: Khmer Times & Ministry of Information

มิถุนายน 2567

 

zh_CNChinese