IMF ส่งสัญญาณเตือนแอฟริกาใต้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (The International Monetary Foundation : IMF) ได้ส่งสัญญาณเตือนแอฟริกาใต้ ให้มุ่งเน้นปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานอย่างเร่งด่วน หากต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น

IMF ระบุว่า ปัญหาเรื้อรังของแอฟริกาใต้ อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน การว่างงานสูง การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ หนี้สาธารณะสูง

ปัจจุบัน รัฐบาลซึ่งเป็นรัฐบาลผสม (ประกอบด้วย 10 พรรคการเมือง โดยมีพรรค ANC เป็นแกนนำ)   ได้บริหารประเทศเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 (ตลอดช่วง 30 ปีก่อนหน้านี้ รัฐบาลพรรคเดียว โดยพรรค ANC) รัฐบาลผสมชุดนี้ได้เผชิญความท้าทายในหลายประเด็น อาทิ การลดลงของขยายตัวของรายได้ที่แท้จริงต่อหัวของประชากร (Real GDP per capita) อัตราการว่างงานที่สูง ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน หนี้สาธารณะสูง

ปี 2566 อัตราขยายตัวของ Real GDP ของแอฟริกาใต้ 0.7% ในขณะที่ อัตราการว่างงาน 32% (ขณะนี้ 33.5%) ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ 1.6% ต่อ GDP เนื่องจากนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก (ปี 2566 ขาดดุลการค้าฯ 0.5% ต่อ GDP) นอกจากนี้ พบว่า หนี้สาธารณะสูง (74% ต่อ GDP) สาเหตุจากขาดดุลงบประมาณ (รายได้ภาครัฐไม่เพียงพอกับรายจ่าย)

รัฐบาลชุดใหม่ ได้แสดงความมุ่งมั่นในการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อจัดการกับข้อจำกัดด้านอุปทานและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนรักษาวินัยทางการคลัง ซึ่งเป็นความต่อเนื่องของ “ปฏิบัติการ            วูลินเดิลลา” (Operation Vulindlela ) เป็นแนวคิดริเริ่มเมื่อปี 2563 ระหว่าง การคลังแห่งชาติ (The National Treasury) และประธานาธิบดี และที่ผ่านมาได้บรรลุเป้าหมายการการปฏิรูปนโยบายส่วนใหญ่แล้ว ทั้งนี้ ปฏิบัติการวูลินเดิลลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ พลังงาน ดิจิทัล การขนส่ง น้ำ รวมทั้งเพื่อปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแล ขจัดอุปสรรคของระบบราชการ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จนถึงตอนนี้ ได้เพิ่มบทบาทของผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ ปรับโครงสร้าง Eskom (รัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทในการผลิตไฟฟ้า) การใช้ e-VISA และการยกเว้น VISA

IMF ชี้ว่า รัฐบาลผสมชุดใหม่ ควรดำเนินการตามประเด็นการปฏิรูปที่มีอยู่ แต่ควรเพิ่มความเข้มข้นและเร่งดำเนินการ รวมทั้งการส่งเสริมการส่งออก และสนับสนุนการปฏิวัติสีเขียว (Green Revolution) เพื่อให้เพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการขจัดอุปสรรคทางการค้า ปฏิรูปตลาดแรงงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนและการจ้างงาน

นอกจากนี้ IMF ยังได้เสนอแนะในประเด็น ดังนี้

  • ลดรายจ่ายภาครัฐ ในขณะที่ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เพื่อฟื้นฟูความยั่งยืนด้านการเงิน
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการคลังและการปรับปรุงการลงทุนภาครัฐ
  • ใช้จ่ายแบบขาดดุลสำหรับการไม่เท่าเทียมกันและด้านสุขภาพ
  • ดำเนินนโยบายการคลังเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อลงสู่เป้าหมาย
  • ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อยกระดับเสถียรภาพผ่านการปฏิรูปธนาคารและเครื่องมือการจัดการวิกฤต รวมทั้งการตรวจสอบความเสี่ยงที่มีอยู่ด้วยความรอบคอบ
  • เสริมสร้างธรรมาภิบาลและลดการคอร์รัปชัน

ทั้งนี้ IMF คาดว่า หากแอฟริกาใต้สามารถดำเนินการตามข้อเสนอแนะข้างต้น จะส่งผลให้เศรษฐกิจจะขยายตัว 1% ในปี 2567 และ 1.3% ในปี 2568

            ข้อมูลเพิ่มเติมและความเห็นของสำนักงานฯ ปัจจุบัน แอฟริกาใต้ยังคงเผชิญกับปัญหาเรื้อรัง อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน การว่างงานสูง การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ หนี้สาธารณะสูง ส่งผลให้ที่ผ่านมา การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ ทั้งนี้ พบว่า แอฟริกาใต้ มียอดเงินกู้ IMF ประจำปี 2566 สูงเป็นอันดับที่ 3 (อันดับที่ 1 อียิปต์ อันดับที่ 2 แองโกลา อันดับที่ 4 ไนจีเรีย อันดับที่ 5 เคนย่า) เมื่อเร็วๆนี้ IMF ได้มีข้อเสนอแนะแอฟริกาใต้หลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมุ่งเน้นปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างมากของรัฐบาลผสม (ประกอบด้วย 10 พรรคการเมือง ได้แก่ ANC, DA, Patriotic Alliance, Inkatha Freedom Party, GOOD, Pan Africanist Congress of Azania, Vryheidsfront Plus, United Democratic Movement, Rise Mzansi และ Al Jama-ah โดยมีพรรค ANC เป็นแกนนำ) ซึ่งได้เข้ามาบริหารประเทศเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 การบริหารประเทศของรัฐบาลชุดใหม่                จะเป็นอย่างไร จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างไร ต้องติดตามต่อไป

 

ที่มาข่าว/เครดิตภาพ  www.businesstech.co.za

比勒陀利亚国际贸易促进办公室

กันยายน 2567

zh_CNChinese