คู่สามีภรรยาทำงานมีจำนวนมากกว่าคู่ที่มีภรรยาเป็นแม่บ้าน ถึง 3 เท่า

ในปี 2566 ครัวเรือนที่สามีและภรรยาทั้งคู่ทำงานมีมากกว่า 12 ล้านครอบครัว ซึ่งเป็นจำนวนประมาณ 3 เท่าของครัวเรือนที่มีภรรยาเป็นแม่บ้าน (ไม่ได้ทำงาน) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเพิ่มจำนวนสถานรับเลี้ยงเด็กและการขยายระยะวันเวลาสำหรับการลาคลอดเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสภาพแวดล้อม ทำให้การทำงานและการดูแลครอบครัวสามารถทำได้ง่ายขึ้น
คู่สามีภรรยาทำงานมีจำนวนมากกว่าคู่ที่มีภรรยาเป็นแม่บ้าน ถึง 3 เท่าจากการสำรวจแรงงานของกระทรวงมหาดไทยพบว่า ในปี 2566 จำนวนครอบครัวที่สามีและภรรยาทั้งคู่ทำงานโดยที่ภรรยาอายุต่ำกว่า 64 ปี อยู่ที่ 12.06 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้น 150,000 ครัวเรือน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา ปีที่มีการประกาศใช้กฎหมายความเท่าเทียมในการจ้างงานระหว่างเพศมีผลบังคับใช้ มีจำนวนครัวเรือนที่มีภรรยาเป็นแม่บ้านเต็มเวลามีอยู่ 9.36 ล้านครัวเรือน มากกว่าครัวเรือนที่มีทั้งคู่สามีภรรยาทำงาน 7.18 ล้านครัวเรือน ต่อมาในทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533) สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปจากเดิม ครัวเรือนที่สามีเป็นลูกจ้างและภรรยาเป็นแม่บ้านเต็มเวลานั้นมีจำนวนต่ำสุด ที่ 4.04 ล้านครัวเรือน ลดลง 260,000 ครัวเรือน และจนในปี 2566 จำนวนครัวเรือนที่มีภรรยาเป็นแม่บ้านเต็มเวลาลดลง 60% ขณะที่จำนวนครัวเรือนที่มีทั้งคู่ทำงานเพิ่มขึ้น 70%
อัตราการทำงานของผู้หญิงในช่วงอายุ 15-64 ปี ในปี 2566 สูงถึง 73.3% เพิ่มขึ้น 10.9 เปอร์เซ็นต์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการทำงานของผู้ชายอยู่ที่ 84.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 3.5 จุดเปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของครัวเรือนที่มีภรรยาเป็นแม่บ้านเต็มเวลาแยกตามช่วงอายุของภรรยา ในปี 2566 พบว่าในกลุ่มอายุ 25 – 34 ปี มีสัดส่วน 22.0% กลุ่มอายุ 35 – 44 ปี มีสัดส่วน 22.9% และกลุ่มอายุ 45 – 54 ปี มีสัดส่วน 21.8% ซึ่งต่ำกว่า 30% ในขณะที่กลุ่มอายุ 55 – 64 ปี มีสัดส่วน 30.8% ซึ่งเกิน 30% และในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึง 59.2% แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนที่มีช่วงวัยหนุ่มวัยสาวหรือช่วงอายุน้อย แม่บ้านเต็มเวลานั้น มีสัดส่วนน้อยลง
อีกหนึ่งปัจจัยการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ทำงานมีพื้นฐานมาจากการบังคับใช้กฎหมายความเท่าเทียมในการจ้างงานระหว่างเพศ ทำให้ค่านิยมที่ผู้หญิงและผู้ชายทำงานเป็นเรื่องปกติในสังคม นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขยายสถานรับเลี้ยงเด็กและการที่สามารถทำงานจากบ้าน (telework) ยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้สามารถทำงานควบคู่กับการดูแลครอบครัวได้ง่ายขึ้นอีกด้วย อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ว่าบริษัทต่าง ๆ พยายามรักษาแรงงานผู้หญิงไว้ในองค์กรท่ามกลางการขาดแคลนแรงงาน (จากการสำรวจของ NLI Research Institute)
รูปแบบการทำงานของผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้าน พบว่าการทำงานระยะสั้นที่ต่ำกว่า 34 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีสัดส่วนมากกว่า 50% โดยเฉพาะกลุ่มภรรยาที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จะเห็นว่ามีการทำงานระยะสั้นในทุกช่วงอายุ รายได้ประจำปีส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 1 ล้านเยนต่อปี และรองลงมาคือรายได้ต่ำกว่า 1 ล้านเยนต่อปี เนื่องจากมีการยกเว้นภาษี สำหรับเงินบำนาญ, ประกันสังคม และประกันสุขภาพสำหรับผู้ที่มีภรรยาเป็นแม่บ้านในอุปการะของสามีที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัทจะมีมาตรการสนับสนุนสำหรับการเลี้ยงดูภรรยาที่เป็นแม่บ้านเต็มเวลา และยังคงมีแนวคิดว่า “การทำงานไม่มากเกินไปจะเป็นผลดีกว่า” เพื่อป้องกันการทำงานน้อยเกินไป รัฐบาลจึงกำลังดำเนินการออกแบบระบบที่สอดคล้องกับครัวเรือนที่มีทั้งคู่สามีภรรยาที่ทำงาน
ในทางตรงกันข้าม ครอบครัวที่ภรรยามีรายได้สูงพบว่าสามีมักมีรายได้สูงเช่นกัน โดยในกรณีที่ภรรยามีรายได้มากกว่า 10 ล้านเยนต่อปี สามีจะมีรายได้มากกว่า 10 ล้านเยนต่อปี จะมีมากถึง 69% เช่นกัน แต่ในกรณีที่ภรรยามีรายได้ 3-4.99 ล้านเยนต่อปี สามีที่มีรายได้มากกว่า 10 ล้านเยนต่อปี จะมีเพียง 7% เท่านั้น เหตุผลนี้เป็นเพราะคู่สมรสมักจะมีรายได้ใกล้เคียงกันเนื่องจากพบรักกันในสถาบันการศึกษาหรือในสถานที่ทำงาน และแต่งงานกัน นอกจากนี้ ครอบครัวที่คู่สมรสทั้งสองคนมีรายได้สูงสามารถลงทุนในการศึกษาของบุตรได้มากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างความไม่เท่าเทียมทางสังคมในระยะยาว ประเด็นการกระจายรายได้และความเท่าเทียมในโอกาสทางการศึกษาเป็นยังปัญหาสำคัญที่ได้รับความสนใจมากขึ้น

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
ในญี่ปุ่น ช่วงทศวรรษ 1980 (พ.ศ.2523) และ 1990 (พ.ศ.2533) การที่ผู้หญิงแต่งงานและมีบุตรมักจะลาออกจากงานและเป็นแม่บ้านถือเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของครัวเรือนที่ทั้งสองคนทำงานแสดงให้เห็นว่าทัศนคติมีการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมของผู้คนและสังคม ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการบังคับใช้กฎหมายโอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ นอกจากนี้ แม้ว่ารูปแบบการทำงานก็มีความหลากหลายของครอบครัวที่คู่สามีภรรยาทั้งสองคนทำงาน โดยสัดส่วนของผู้หญิงจำนวนมากที่ทำงานระยะสั้นและมีรายได้น้อย รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพยายามเพิ่มชั่วโมงทำงานและเพิ่มรายได้ของผู้หญิงในกลุ่มดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็มีผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่มีรายได้มากกว่า 10 ล้านเยนต่อปี ดังนั้นในอนาคตโอกาสที่ผู้หญิงญี่ปุ่นจะมาเป็นคู่ค้าทางธุรกิจกับไทยอาจจะเพิ่มขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei ฉบับวันที่ 18 กันยายน 2567

zh_CNChinese