ช่วงการลงทุนที่ตกต่ำภายหลังจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยบริษัทเทคโนโลยี ชีวภาพ (Bio Tech) ของเยอรมนีได้เริ่มกลับมาได้รับเงินลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ได้รับเม็ดเงินมากกว่า 1.6 พันล้านยูโร เข้าสู่อุตสาหกรรม Bio Tech ซึ่งถือว่า มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเกือบ 70% ข้อมูลตัวเลขนี้ได้มาจากสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพเยอรมนี (Bio Deutschland) และบริษัทที่ปรึกษา EY ซึ่งทำให้กับหนังสือพิมพ์ Handelsblatt โดยทั้งหมดนี้น่าจะมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต บริษัท Kurma Partners ที่เป็นหนึ่งบริษัทธุรกิจร่วมลงทุน (VC – Venture capital) ในอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) รายใหญ่ได้ออกมาประกาศว่า ได้เปิดตัวกองทุน Bio Tech ชุดใหม่ที่มีมูลค่ากว่า 250 ล้านยูโร ขึ้น หรือเรียกได้ว่า เป็นการลงทุนด้าน Bio Tech ที่สูงที่สุด โดยเน้นการลงทุนในปัจจุบันเป็นหลัก ซึ่งกองทุนนี้เน้นการลงทุนในยุโรปรวมถึงเยอรมนี และจนถึงปัจจุบัน Kurma ได้ระดมทุนไปแล้วกว่า 140 ล้านยูโร และส่วนที่เหลืออีก 110 ล้านยูโร น่าจะสามารถระดมทุนได้รับภายในสิ้นปีหน้า บริษัท Kurma Partners ได้ใช้เงินจาก Biofund IV เพื่อสนับสนุนบริษัท Bio Tech ในยุโรป ไปแล้ว 3 บริษัท (สำหรับในปีนี้) โดย 1 บริษัท มาจากเยอรมนี คือ บริษัท SciRhom ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะภูมิต้านตนเอง (Autoimmunity) และได้พัฒนาวิธีการรักษาโรครูมาติซึมแบบใหม่ขึ้น ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาบริษัทฯ สามารถระดมทุนได้สูงถึง 63 ล้านยูโร จากนักลงทุนที่มีชื่อเสียงหลายราย ในการระดมทุนรอบแรก (Series A) นอกเหนือจาก Kurma Partners แล้ว ยังมีบริษัท Andera Partners, MIG Capital และ Wellington Partners ที่มีส่วนร่วมในการลงทุนในรอบนี้ด้วย
นาย Peter Neubeck หุ้นส่วนของ Kurma ในเยอรมนี กล่าวว่า “เราเป็นนักลงทุนเงินลงทุน ระหว่างประเทศ โดยเราลงทุน 3 ใน 4 ของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี ฝรั่งเศส และสหภาพเบเนลักซ์” และจากความเห็นของเขาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรม Bio Tech ในภูมิภาคนี้ มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดย “ในภูมิภาคยุโรปมีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งหลายบริษัทได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาประสบความสำเร็จมากขนาดไหน” นี่ไม่เพียงแต่ผู้บุกเบิกวัคซีนโคโรน่าอย่างบริษัท Biontech เท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ Bio Tech การที่ในปีนี้บริษัท Novartis เวชภัณฑ์ยาเข้ามาซื้อกิจการบริษัท Morphosys ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรม Bio Tech มูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ และบริษัท Novo Nordisk จากเดนมาร์ก เข้าซื้อกิจการบริษัท Cardior ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีความนิยมชมในอุตสาหกรรม Bio Tech ของเยอรมนีมากขนาดไหน นอกจากนี้ ความสำเร็จดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นผ่านการเพิ่มจำนวนรอบการระดมเงินทุน ในปีนี้ผ่านมา มีบริษัทที่สามารถระดมทุนได้มากกว่า 100 ล้านยูโร ถึง 3 ราย และทั้ง 3 บริษัท ก็เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองมิวนิก ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อสู้กับโรคมะเร็งทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่นบริษัท ITM SE ที่ทำวิจัยด้านการบำบัดด้วยกัมมันตภาพรังสี เพื่อต่อต้านเนื้องอกได้รับเงินระดมทุน 188 ล้านยูโร บริษัท Catalym ได้รับเงิน 137 ล้านยูโร เพื่อพัฒนาเวชภัณฑ์ยาที่ทำให้การรักษามะเร็ง และบริษัท Tubulis ที่ล่าสุดพึ่งเสร็จสิ้นการระดมทุนได้สูงถึง 128 ล้านยูโร ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมากำลังค้นคว้าสิ่งที่เรียกว่า Antibody-Drug Conjugates (ADCs) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเคมีบำบัดในเซลล์
ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน 2567 มีเงินลงทุนไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมฯ ประมาณ 803 ล้านยูโรเพิ่มขึ้นกว่า 50% บริษัท Bio Tech ต่าง ๆ สามารถระดมทุนได้ประมาณ 813 ล้านยูโร ผ่านการเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือขยายตัวขึ้น 86% โดยประมาณ อย่างไรก็ตามทุนส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) ของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยโรค Qiagen ซึ่งบริษัทเดียวก็มีมูลค่าสูงถึง 451 ล้านยูโร แม้ว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นข่าวดี แต่เยอรมนีก็ยังคงตามหลังสหรัฐอเมริกาในเรื่องการจัดหาเงินทุน ตามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน FCF ตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม2567 มีเงินลงทุนมากกว่า 13.3 พันล้านยูโร ไหลเข้าสู่ธุรกิจ Bio Tech ของสหรัฐอเมริกา และเมื่อพูดถึงการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO – Initial public offering ) การเสนอขายหุ้น IPO ส่วนใหญ่ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ก็เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ตัวเลือกแรก ๆ สำหรับบริษัท Bio Tech ซึ่งรวมถึงบริษัทจากเยอรมนีมานานหลายปีแล้วด้วย มีการพูดกันว่า Nasdaq มีสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการรับประกันว่าส่วนใหญ่บริษัทจะได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้นตามนั้นเอง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ข้างต้นก็ไม่ได้ทำให้เสนอขายหุ้น IPO บริษัท Pentixapharm ในตลาดหลักทรัพย์นครแฟรงก์เฟิร์ต ของเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งแรกของบริษัท Bio Tech ในตลาดหลักทรัพย์ท้องถิ่นนับตั้งแต่บริษัท Brain Biotech เข้ามาเสนอขายหุ้น IPO ในปี 2016 และการที่ Pentixapharm เข้ามาเสนอขายหุ้น IPO ผ่านตลาดหลักทรัพย์นครแฟรงก์เฟิร์ต นั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากโครงสร้างของการเสนอขายหุ้น IPO เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างการแยกตัวจากบริษัทแม่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Eckert & Ziegler SE และเป็นเสนอขายหุ้น IPO สู่สาธารณะไปพร้อม ๆ กัน นาย Andreas Eckert ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลของ Pentixapharm Holding AG กล่าวว่า “การจดทะเบียน Pentixaparm ในนครแฟรงก์เฟิร์ตเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผล เนื่องจากกฎหมายบริษัทหุ้นของเยอรมันอาจทำให้การแยกตัวจากบริษัทแม่ออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความซับซ้อนและมีราคาแพง” การแปลงเป็นรูปแบบทางกฎหมายของบริษัทที่ได้รับการอนุมัติจากสหรัฐฯ จะทำให้สามารถมีการเรียกร้องค่าชดเชยเป็นเงินสดจากผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระด้านการบริหาร และการเงินที่สำคัญเมื่อมีผู้ถือหุ้นจำนวนมาก นาย Eckert กล่าวว่า “ด้วยการเสนอขายหุ้น IPO ในนครแฟรงก์เฟิร์ต เรากำลังใช้ประโยชน์จากกรอบการกำกับดูแลที่รู้จัก และคุ้ยเคยกันเป็นอย่างดี และเป็นการสร้างข้อเสนอที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดให้แก่ผู้ถือหุ้นของเรา” ในเวลาเดียวกัน ตัวเลือกในการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์รอง (Dual-Listing) ในสหรัฐอเมริกาจะยังคงดำเนินการได้อยู่ นาย Eckert กล่าวว่า “ซึ่งทำให้เราไม่ต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันขนาดหนักไปพร้อม ๆ กัน” จากการแยกตัวจากบริษัทแม่บริษัท Pentixaparm ได้ส่งหุ้นจำนวน 3.9 ล้านหุ้นออกมาในราคาหุ้นละ 5.10 ยูโร และวางแผนที่จะระดมทุนให้ได้ 19.9 ล้านยูโร คาดว่า ราคาเริ่มต้นของบริษัท Pentixaparm ผู้พัฒนาเภสัชภัณฑ์รังสีมีมูลค่า 126.5 ล้านยูโร หุ้นเกือบร้อยละ 62 จะเป็นปริมาณการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ในอนาคต
จาก Handelsblatt 21 ตุลาคม 2567