เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลกลางของเยอรมนีได้ลงคะแนนเสียงเพื่อคัดค้านการเก็บภาษีรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ของสหภาพยุโรป (EU) แต่เยอรมนีไม่สามารถโน้มน้าวประเทศอื่น ๆ ให้เห็นด้วยการการลงคะแนนเสียงคัดค้านได้มากพอ โดยนาย Olaf Scholz นายกรัฐมนตรี สังกัดพรรคสังคมนิยมเพื่อประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD – Sozialdemokratische Partei Deutschlands) ได้ออกมาพูด ในกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเก็บภาษี EV ของ EU ต่อหนังสือพิมพ์ Handelsblatt ว่า เยอรมนีได้ออกมาคัดค้านการเก็บภาษีดังกล่าว และได้ลงคะแนนเสียงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยนโยบายด้านเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สภาวะอากาศ ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศที่นำโดยพรรคยุค 90 พันธมิตรสีเขียว (Bündnis 90/Die Grünen) เห็นว่า จริง ๆ แล้วเยอรมนีควรงดออกเสียงมากกว่าที่จะออกมาแสดงท่าทีคัดค้าน ซึ่งระหว่างที่นาย Scholz และนาย Christian Lindner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นด้วยกับลงคะแนนออกเสียง “ไม่” ในครั้งนี้ แม้ว่าโดยปกติแล้วรัฐบาลกลางเยอรมนีจะ “งดการลงคะแนนเสียง” หากไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้เห็นได้ว่า นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีได้ใช้อำนาจของตนเกินขอบเขตเพื่อแสดงความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว แม้ว่าจริง ๆ แล้วเรื่องดังกล่าว จะเป็นเรื่องที่เขาไม่ได้มีอำนาจสั่งการก็ตาม เพราะถือว่าเขาไม่ได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงคะแนนเสียงเรื่องดังกล่าวใน EU แต่ในทางปฏิบัติแล้วเขาได้แสดงความชัดเจนให้เห็นด้วยการออกมาปฏิเสธการลงคะแนนเสียงในครั้งนี้อย่างหนักแน่น และสั่งให้กระทรวงที่ดูแลเรื่องดังกล่าว (กระทรวงเศรษฐกิจ) ลงคะแนนเสียง “ไม่” ในครั้งนี้ตามคำสั่งของเขา อย่างไรก็ตามเยอรมนีก็ไม่ประสบความสำเร็จกับการลงคะแนนเสียง “ไม่” เพราะเพื่อที่จะสามารถป้องกันไม่ให้มีการเก็บภาษีดังกล่าวเกิดขึ้น ประเทศสมาชิก 15 ประเทศ หรือคิดเป็น 65% ของจำนวนประชากรในสหภาพยุโรปจะต้องลงคะแนนเสียงคัดค้านร่วมกัน

 

แต่ประเทศสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศได้ลงคะแนนร่วมกัน และเห็นว่า คณะกรรมาธิการ EU ควรกำหนดอัตราภาษีเพิ่มเติมสูงสุดถึง 35% สำหรับ การนำเข้า EV จากจีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป คณะกรรมาธิการ EU กล่าวหาจีนว่า ได้ให้เงินอุดหนุนการผลิตรถ EV ของตน และด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ผลิตรถ EV ในจีนได้เปรียบในด้านการแข่งขัน ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น นาย Scholz ออกมาต่อต้านการเก็บภาษีดังกล่าว ตั้งแต่เริ่มต้นในการเริ่มพูดถึงประเด็นดังกล่าว โดยสิ่งที่กวนใจนาย Scholz เป็นพิเศษก็คือ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันที่ผลิตในจีนจะต้องจ่ายภาษีที่สูงกว่าคู่แข่งในจีน ซึ่งคำพูดอันทรงพลังของนาย Scholz ในฐานะนายกรัฐมนตรีมีแนวโน้มที่จะทำให้เยอรมนีเพิ่มความชัดเจนให้กับรัฐบาลกลางของเยอรมนีด้านนโยบายเกี่ยวกับประเทศจีน จากแหล่งข่าวในกระทรวงเศรษฐกิจฯ พบว่า “แนวความคิดที่ไม่ลงตัวนี้ไม่ถือว่า ใครดีกว่าใคร เพราะในเวลานี้ไม่ใช่การตั้งคำถามเกี่ยวกับการยืดมั่นในนโยบายของประเทศตน แต่เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองเกี่ยวกับวิธีการเจรจาต่อรองของยุโรปกับจีนที่ดีสุดในอนาคต” ต่างหาก เห็นได้ชัดว่า นาย Scholz ต้องการส่งสัญญาณด้วยคำพูดอันทรงพลังของเขาว่า เขายืนอยู่เคียงข้างผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน เพราะในเวลานี้อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมันประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีตำแหน่งงานประมาณ 14,000 ตำแหน่ง ในบริษัท ZF ผู้ผลิตชิ้นส่วนชั้นนำของโลกและอีกกว่า 30,000 ตำแหน่ง ในบริษัท Volkswagen ถูกวางเดิมพัน เมื่อไม่นานมานี้นาย Scholz ได้ประกาศว่า หัวใจหลักของนโยบายของเขาในเวลานี้ก็คือ การรักษาตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมเยอรมัน ซึ่งจากมุมมองของผู้สังเกตการณ์ การลงคะแนนเสียงของเยอรมนีเยี่ยงนี้ ถือเป็นบททดสอบแรกสำหรับยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรป และขณะนี้นาย Scholz เองก็เริ่มให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ของ EU นาย Tobias Gehrke จาก Thinktank European Council on Foreign Relations (ECFR) กล่าวว่า “มันจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเลยสำหรับคณะกรรมาธิการ EU หากจีนสามารถทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกได้” นาง Katharina Dröge ผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคสีเขียวได้กล่าวว่า “การตัดสินใจของนาย Olaf Scholz นั้นผิดในแง่ของนโยบายอุตสาหกรรม” นางเห็นว่า การกำหนดภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) ทำให้บริษัทต่าง ๆ มั่นใจว่า จะมีการแข่งขันที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน นาง Dröge กล่าวว่า “ในทางยุทธศาสตร์แล้ว ถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่เช่นกัน ที่จะขัดแย้งกับแนวทางการตัดสินใจของ EU ในประเด็นดังกล่าวเปรียบเสมือนเรายอมเป็นลูกล่อให้กับจีน” โดยทั่วไปกระทรวงเศรษฐกิจฯ และกระทรวงการต่างประเทศไม่สนับสนุนการเก็บภาษีฯ โดยมีคำแถลงออกมาว่า “เราต้องการพื้นที่การแข่งขันที่เท่าเทียมกัน และยุติธรรม แต่ไม่ได้ต้องการทำสงครามการค้าด้วยกำแพงภาษี” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุโรปจะต้องใช้อำนาจการเจรจาอย่างเต็มที่ เพราะในเวลานี้ “จีนเองก็กำลังดำเนินการอย่างเต็มกำลัง ยุโรปจะต้องทำเช่นเดียวกัน เลิกทำตัวไร้เดียงสากับจีนได้แล้ว” อย่างไรก็ตามผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า หากไม่ใช้ประโยชน์จากการกำหนดอัตราภาษี EU ก็จะไม่มีเรื่องอื่นที่จะสามารถนำมาขู่จีนได้อีกต่อไป

 

จนกระทั่งไม่นานก่อนการลงคะแนนเสียงตัวแทนของสำนักนายกรัฐมนตรีก็ออกมากดดันขอให้รัฐบาลประเทศสมาชิสหภาพยุโรปอื่น ๆ ลงคะแนน “ไม่” ในการลงคะแนนเสียงจนวินาทีสุดท้ายด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเก็บภาษีศุลกากรเกิดขึ้น แต่นายกรัฐมนตรีเยอรมันก็ไม่สามารถรวบรวม 15 ประเทศที่จำเป็นเพียงพอได้ ตามการคำนวณของเยอรมนี คิดว่าหากประเทศสมาชิกขนาดใหญ่หลายประเทศไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีดังกล่าว คณะกรรมาธิการ EU ก็น่าจะพิจารณาว่า ในช่วงเริ่มต้นวาระการทำงานของเหล่าคณะกรรมาธิการ EU พวกเข้ากล้าที่จะจะทำให้ประเทศสมาชิกที่มีอิทธิพลเหล่านี้ไม่พอใจดีหรือไม่ ในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อตัวแทนธุรกิจในสัปดาห์ที่ผ่านมานาย Scholz ออกมาเรียกร้องให้รักษาการเจรจากับจีนไว้ต่อ และกล่าวว่า “การค้าขายกับพันธมิตรหลาย ๆ ประเทศมีบริบทที่หลากหลายโดยรูปแบบของการบริหารความเสี่ยงต้องเน้นเหตุผลรองรับ ท่ามกลางสถานการร์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงในปัจจุบัน ” นาย Lindner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพารคลัง รู้ว่า นาย Scholz อยู่เคียงข้างเขา นอกจากนี้เขายังเรียกร้องให้เยอรมนีแสดงความชัดเจนว่า “ไม่” ต้องการเรียกเก็บภาษีศุลกากร นาย Christian Dürr ผู้นำกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค FDP ในรัฐสภาฯ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Handelsblatt ว่า เยอรมนีจำเป็นต้องตอบ “ไม่” เกี่ยวกับภาษีรถยนต์เพื่อสร้างความชัดเจนให้ทราบทั่วกัน คณะกรรมาธิการ EU กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลจีนออกมารับรองว่า จะยกเลิกการอุดหนุน ผู้ผลิตรถยนต์ ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลจีนกับผู้ผลิตแต่ละรายเท่านั้นไม่เพียงพอสำหรับคณะกรรมาธิการ EU นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการ EU กลัวถึงผลกระทบที่จะส่งเป็นสัญญาณเชิงลบว่า จุดยืนที่ของสหภาพยุโรปในเรื่องภาษีที่ไม่เป็นเสียงเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาษี EV มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของข้อพิพาทอันยาวนานกับจีนเกี่ยวกับการอุดหนุนสินค้าส่งออกจากรัฐบาลจีนไปยังสหภาพยุโรป แวดวงการทูตกล่าวกันว่า “เป็นเรื่องสำคัญที่ EU จะต้องแสดงความสามัคคีในประเด็นภาษี EV จากจีน” เมื่อเร็ว ๆ นี้ตลาดยุโรปได้รับแรงกดดันเพิ่มขึ้นเนื่องจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้กำหนดอัตราภาษี EV ของจีนสูงถึง 100% นาย Jacob Gunter ผู้เชี่ยวชาญจาก Merics ซึ่งเป็น China-Thinktank ไม่เชื่อว่า จีนจะใช้มาตรการตอบโต้ที่รุนแรง “มีเหตุผลจำกัดมากที่จะเชื่อได้ว่าจีนจะไม่ดำเนินการอะไรกับผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน” ปัจจุบันเยอรมนีไม่ได้ส่งออกรถยนต์จำนวนมากไปยังประเทศจีน รถยนต์เยอรมันเกือบทั้งหมดที่จำหน่ายในสาธารณรัฐประชาชนจีนผลิตในโรงงานในประเทศที่มีชาวจีนเป็นหุ้นส่วน ดังนั้นจึงไม่เป็นผลดีต่อปักกิ่งที่จะเป็นศัตรูกับผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน

 

จากการสำรวจของสถาบันเศรษฐศาสตร์เยอรมนี (IW – das Institut der deutschen Wirtschaft)พบว่า มากกว่า 80% ของบริษัทเยอรมัน จาก 900 อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสนับสนุนการเรียกเก็บภาษีดังกล่าว บริษัทมากกว่า 70% กล่าวว่า คู่แข่งชาวจีนลดราคาสินค้าลงมากกว่า 10% บริษัทมากกว่า 1 ใน 3 รายงานว่า ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งจากจีนมีราคาถูกกว่าอย่างน้อย 30% ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนบริษัทในประเทศจีนสามารถขยายกำลังการผลิตขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ความต้องการสินค้าเหล่านี้ในประเทศยังอ่อนเกินไป ในกรุงบรัสเซลส์ฐานหลักของ EU บริษัทต่าง ๆ ต่างเข้าแถวเพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการทุ่มตลาดของคู่แข่งชาวจีน จนถึงสิ้นปี 2023 EU มีมาตรการป้องกันการทุ่มตลาดออกมาแล้ว 182 มาตรการตาม “รายงานการป้องกันปัญหาทางการค้า (Trade Defence Report)” ของคณะกรรมาธิการ EU แสดงให้เห็นว่า  3 ใน 4 ของมาตรการนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตจากจีน นาย Gehrke ผู้เชี่ยวชาญ ECFR คาดว่า EU จะขยายมาตรการป้องกันตัวเองออกไป โดยหนึ่งตัวอย่างคือ การนำเข้าแบตเตอรี่ เพราะมันไม่สมเหตุสมผลเลยที่ EU จะอุดหนุนเงินในการตั้งโรงงานแบตเตอรี่แห่งใหม่ใน EU ด้วยเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าแบตเตอรี่เพียง 1.3% เท่านั้น

 

จาก Handelsblatt 25 ตุลาคม 2567

zh_CNChinese