แนวโน้มสงครามการค้าของทรัมป์จะตาหน้าเป็นอย่างไร

แนวโน้มสงครามการค้าของทรัมป์จะตาหน้าเป็นอย่างไร
​สงครามการค้าด้วยการขึ้นภาษีศุลกากรของนายโดนัลด์ ทรัมป์อาจสามารถเป็นไปได้ในหลายทิศทาง ดังนั้น การทำความเข้าใจกลยุทธ์ด้านภาษีของทรัมป์ในการดำรงตำแหน่งสมัยแรกและทีมบริหารเดิม รวมถึง ความสำคัญของบุคคลในทีมใหม่ อาจสามารถทำให้เข้าใจถึงเส้นทางที่ทรัมป์วางแผนที่จะเดินไปข้างหน้า

เป็นที่ทราบกันดีว่านายโดนัลด์ ทรัมป์เป็นผู้ที่หลงใหลในการเก็บภาษีศุลกากร รวมทั้ง เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มักมีความเอาแต่ใจ ทำให้ตั้งแต่ซีอีโอบริษัทยักษ์ใหญ่ และธุรกิจขาดเล็ก รวมถึง นักลงทุนวอลล์สตรีทและรัฐบาลต่างประเทศ ต่างพากันวิตกและวางแผนเพื่อรับมือกับนโยบายที่นายทรัมป์ใช้หาเสียง โดยเฉพาะการปกป้องทางการค้า อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายประเมินว่าการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก ซึ่งยิ่งส่งผลให้แนวโน้มการดำเนินนโยบายของทรัมป์เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

Bloomberg Economics ได้ทำการศึกษาและประเมินความเป็นไปได้ของการดำเนินนโยบายในขั้นต่อไปของนายทรัมป์ แต่ Bloomberg Economics ก็ยอมรับว่าเป็นการประเมินแบบขาดความมั่นใจ เนื่องจากตัวประธานาธิบดีทรัมป์เองเป็นผู้ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ โดยการศึกษานี้ เป็นการศึกษานโยบายการค้าในช่วงสมัยแรกของทรัมป์ ทั้งจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ช่วยผลักดันนโยบายการค้าในช่วงสมัยแรก รวมทั้ง การวิเคราะห์วิธีการจัดทำแผนสงครามการค้าเดิม และการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการค้าโลกที่มีมูลค่าถึง 30 ล้านล้านดอลลาร์ให้สามารถก้าวผ่านภาวะผันผวนนี้ไปได้

ส่วนหนึ่งของความท้าทายในการศึกษา คือ การแยกความต้องการเป็นจุดสนใจหรือดราม่าของนายทรัมป์ในบางแถลงการณ์ที่ดูเหมือนไร้ทิศทาง เช่น การขู่จะขึ้นภาษีสินค้าจากเม็กซิโก แคนาดา และจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และคำเตือนใหม่ต่อเศรษฐกิจของกลุ่ม BRICS เมื่อวันเสาร์ ออกจากนโยบายที่มีแนวโน้มจะดำเนินการได้จริง รวมถึง การบังคับใช้ภาษีศุลกากรที่อาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าและอาจค่อยเป็นค่อยไป
บนเส้นทางสู่ชัยชนะในวันที่ 5 พฤศจิกายน นายทรัมป์ได้ประกาศว่าเขาจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 60% และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากที่อื่น 10% ถึง 20% อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีนำเข้าที่เขาจะกำหนดเมื่อดำรงตำแหน่งนั้น คาดว่าจะมีการจัดลำดับและกำหนดเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มรายรับจากภาษีให้สูงสุด โดยในขณะเดียวกันก็จะปกป้องผู้บริโภคในสหรัฐฯ จากการกลับมาของภาวะเงินเฟ้อด้วย

การคาดการณ์การขึ้นภาษีศุลกากรเบื้องต้นของ Bloomberg Economics
จีนอาจเผชิญกับการปรับขึ้นภาษีที่รุนแรงที่สุดในอีกสองปีข้างหน้า

Bloomberg Economics ได้วิเคราะห์กรณีพื้นฐาน (Base Case) ของแนวทางการขึ้นภาษีศุลกากรว่าอาจจะมีการพิจารณาขึ้นภาษี 3 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2025 และเพิ่มขึ้นอีกในช่วงสิ้นปี 2026 ที่จะเรียกเก็บภาษีจากจีน รวมทั้ง จะขึ้นภาษีเล็กน้อยในประเทศอื่นๆ ของโลก โดยจะเน้นที่สินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนที่ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาผู้บริโภค ทั้งนี้ ภายในสิ้นปี 2026 จะทำให้ภาษีศุลกากรเฉลี่ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า หรือเป็นเกือบ 8% ในภาพรวม
หากสมติฐานนี้เป็นจริง สัดส่วนการนำเข้าและส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ จะลดลงจาก 21% ของยอดรวมทั่วโลกในปัจจุบันเหลือเพียง 18% ซึ่งหมายรวมถึงการลดลงอย่างรวดเร็วของการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของสหรัฐฯ การเผชิญกับภาวะเฟ้อจากภาวะภาษีที่สูงขึ้นและดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ตลาดหุ้นที่เป็นขาขึ้นจะมีอุปสรรคที่จะชะลอตัวลง และอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้โพสต์ทางเพจโซเชียล Truth ขู่ว่าจะขึ้นภาษี 25% กับเม็กซิโกและแคนาดาในวันแรกที่ดำรงตำแหน่ง เว้นแต่หาก 2 ประเทศจะปราบปรามผู้อพยพและยาเสพติดเฟนทานิลที่ข้ามพรมแดน รวมถึง จะขึ้นภาษีกับจีนเพิ่มอีก 10% หากจีนไม่ห้ามการส่งออกยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) ซึ่งหากดำเนินการดังกล่าว อาจทำให้ภาษีโดยรวมอยู่ในระดับเดียวกับที่ Bloomberg Economics คาดการณ์ไว้ โดยยังเน้นหนักไปที่จีน
การประกาศของทรัมป์ในสัปดาห์ที่ผ่านมาถือว่าเป็นการตอกย้ำครั้งล่าสุดถึงความไม่แน่นอนของทรัมป์และนโยบายที่ท้ายสุดอาจนำไปสู่การขึ้นภาษีแบบสุดขั้ว ซึ่งสำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐฯแล้ว อุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบที่มีห่วงโซ่อุปทานข้ามพรมแดนทั้งทางใต้และทางเหนือของสหรัฐฯ หากการโพสต์ทางเพจโซเชียล Truth ของทรัมป์ ถูกบังคับใช้จริง อาจเกิดผลกระทบที่รุนแรง
การประกาศนโยบายต่างๆ ของนายทรัมป์ยังคงมีข้อที่ต้องพึ่งระวังก่อนตัดสินใจค่อนข้างมาก เนื่องจากนายทรัมป์ชอบประกาศนโยบายที่ดึงดูดความสนใจมากกว่านโยบายที่ดูดำเนินการได้จริง โดยยังมีกฎหมายอีกมากมายที่อาจต้องนำมาบังคับใช้เมื่อนายทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาว เพื่อกำหนดภาษีศุลกากรให้รวดเร็ว และอาจรวมถึงการประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่จากสถานการณ์ในอดีต ได้แสดงให้เห็นว่าทรัมป์มักจะระมัดระวังที่จะไม่ให้เกิดความวุ่นวายในตลาดการเงินและการก่อกวนนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการลดหย่อนภาษีและการยกเลิกกฎระเบียบมากกว่านโยบายภาษีศุลกากร

สิ่งที่สำคัญต่อมาคือทีมงานของทรัมป์ที่จะวางแผนและจัดเก็บภาษีศุลกากร
การตัดสินใจของทรัมป์ที่เลือกนายสก็อตต์ เบสเซนต์ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Key Square Group ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนต่อไป ถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่เป็นเชิงบวกกับวอลล์สตรีทและให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของตลาดมากกว่าการสร้างความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ แม้นายสก็อตต์ เบสเซนต์จะไม่ใช่คนที่จะขัดขวางนโยบายภาษีศุลกากรของทรัมปืได้ แต่อย่างน้อยจะสามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจได้ นายสก็อตต์ เบสเซนต์ ได้ส่งสัญญาณสนับสนุนให้เก็บภาษีศุลกากรเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ การเพิ่มรายได้ของรัฐบาลเพื่อชดเชยการลดหย่อนภาษีและการแก้ไขความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก
นอกจากนี้ นายสก็อตต์ฯ ยังกล่าวอีกว่าลำดับความสำคัญแรกของทรัมป์ควรเป็นการกระตุ้นการเติบโตของ GDP ของสหรัฐฯ ให้สูงกว่า 3% ซึ่งต้องพึงระวังปัจจัยด้านภาษีศุลกากรที่จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและกำลังการใช้จ่ายของผู้บริโภค
สำหรับนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดการขึ้นภาษีศุลกากรการนำเข้าสินค้าจากจีนของทรัมป์ในสมัยแรก ยังมีคำถามว่าจะมีบทบาทอย่างเป็นทางการในรัฐบาลชุดใหม่หรือไม่ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เลือกนายเจมีสัน เกรียร์ อดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของโรเบิร์ต ไลต์ไฮเซอร์ให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งอาจมีนัยสำคัญว่าในวัย 77 ปี ของนายไลท์ไฮเซอร์ ผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านการค้าของสหรัฐฯ ของทรัมป์ในสมัยแรก อาจพอใจกับการมีลูกศิษย์อยู่ในรัฐบาลมากกว่าที่ตนเองจะมีตำแหน่งทางการก็เป็นได้

อีกทั้ง นายไลท์ไฮเซอร์ ก็ไม่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตกเป็นของโฮเวิร์ด ลุตนิก ประธานและซีอีโอบริษัทแคนเตอร์ ฟิตซ์เจอรัลด์ ซึ่งแพ้อย่างยับเยินกับสก็อตต์ เบสเซนต์ สำหรับตำแหน่งในกระทรวงการคลัง การประกาศเปิดตัวของนายลุตนิกมาพร้อมกับคำกล่าวเสริมที่น่าสนใจจากทรัมป์ ว่า “อดีตผู้บริหารวอลล์สตรีทผู้นี้จะเป็นผู้นำวาระด้านภาษีศุลกากรและการค้า รวมทั้ง ดูแล USTR” อย่างไรก็ดี นายลุตนิก กลับมีประสบการณ์ด้านนโยบายการค้าสหรัฐฯ น้อยมากในช่วงที่ดำรงตำแหน่งซีอีโอของบริษัทซื้อขายพันธบัตรแคนเตอร์ ฟิตซ์เจอรัลด์ และแม้ว่าการแบ่งอำนาจหน้าที่ของทีมเศรษฐกิจของทรัมป์ยังมีความไม่แน่นอน แต่แนวทางด้านการค้าโดยเฉพาะการขึ้นภาษีศุลกากรของทรัมป์ดูใกล้ความเป็นจริงและกำลังได้รับความสนใจอย่างสูง
ภายใต้สมมุติฐานของ Bloomberg Economics คาดว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีในช่วงกลางปี ​​2025 และจะใช้รายการเดิมที่มีอยู่ตามมาตรา 301 ที่รัฐบาลทรัมป์เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2017 รวมทั้ง รัฐบาลไบเดนเคยใช้การจัดเก็บภาษีนำเข้าจากจีนในรายการเหล่านี้ต่อมา ซึ่ง Bloomberg Economics คาดว่าจะนำไปสู่การขึ้นภาษี 15% เพิ่มเติม สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายประเภทตั้งแต่เครื่องเล่นพินบอลไปจนถึงชุดนอนและปากกาลูกลื่น ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จำกัดในช่วงวาระแรกของทรัมป์
กลยุทธ์ภาษีศุลกากรของทรัมป์ มุ่งไปที่รายการสินค้าเป้าหมายที่สหรัฐฯ ไม่ได้พึ่งพาจีนมากนัก

คาดการณ์ว่าการดำเนินการแรกของทรัมป์ คือการย้อนไปใช้อัตราภาษีศุลกากรในระดับที่รัฐบาลชุดแรกของทรัมป์ดำเนินการก่อนเดือนมกราคม 2020 หรือช่วงที่มีการลงนามในข้อตกลง (Economic and Trade agreement) ระหว่างสหรัฐฯ – จีน ระยะแรก (Phase 1) กับปักกิ่ง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่สมเหตุสมผลเนื่องจากจีนไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแรก และจะเป็นกลไกที่สามารถกระตุ้นจีนเพื่อการเจรจาได้
อย่างไรก็ดี สำหรับตอนนี้ โอกาสในการหารือระหว่างปักกิ่งและวอชิงตันดูไม่ค่อยดีนัก ท่าทีในวอชิงตัน ดีซี ดูจะกระตือรือร้นที่จะเห็นมาตรการการค้าที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกับจีนมากกว่าการปรองดอง เหลือเพียงว่าประธาธิบดีทรัมป์จะตัดสินใจดำเนินการไปในทิศทางใด โดยเฉพาะหากมีการเปิดเจรจาและล้มเหลว ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีความเป็นไปได้สูง ในกรณีนี้ แนวคิดของ Bloomberg Economics เห็นว่าอาจจะมีการเพิ่มภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าสินค้าอื่นๆ จากจีน โดยเฉพาะสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง ไปจนถึงเดือนกันยายน 2026 โดยเพิ่มภาษีศุลกากร ที่ขณะนี้ 25% ขึ้นอีก 3 เท่าเป็น 75% ในรายการเป้าหมาย
นอกเหนือจากการขึ้นภาษีศุลกากรกับจีนแล้ว Bloomberg Economics คาดว่าจะมีการเพิ่มภาษีศุลกากร 3% ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยอาจเริ่มจากสินค้าขั้นกลางและเพิ่มเป็นสินค้าทุนในระยะต่อไป ซึ่งมาตรการนี้จะสามารถเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยของสหรัฐฯ ที่ได้จากการนำเข้าจาก 2.6% ในปี 2023 เป็น 7.8% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดนับตั้งแต่รัฐสภาผ่านภาษีศุลกากร Smoot-Hawley

พันธมิตรทางการค้าของสหรัฐฯ ผู้ที่คาดว่าสูญเสียมากที่สุด คือ จีน ซึ่งต้องเผชิญกับการขึ้นภาษีที่สูงที่สุด รวมทั้ง แคนาดาและเม็กซิโก ที่พึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯ มากที่สุด โดยรวมแล้ว คาดการณ์ว่าการค้าของสหรัฐฯ จะลดลง 11% และจีนอาจมีตัวเลขการส่งออกมากยังสหรัฐลดลงไปถึง 83%
อย่างไรก็ดี มีแง่มุมที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้เกี่ยวกับภาษีศุลกากรชุดแรกของทรัมป์นั้น ได้มีการเลือกมาอย่างมี
กลยุทธ์ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า ” Hassett algorithm” ซึ่งตั้งชื่อตามนายเควิน ฮัสเซตต์ อดีตประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ผู้มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการรวบรวมรายการภาษีศุลกากรชุดแรกกับจีน ภาษีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่ชิ้นส่วนและเครื่องจักรเป็นหลัก เพื่อลดผลกระทบต่อเงินเฟ้อและ GDP ของสหรัฐฯ รวมทั้ง ในรายการยังมุ่งเน้นไปที่สินค้าที่ผู้ซื้อชาวอเมริกันสามารถหาสินค้าทดแทนได้
สำหรับวาระที่สอง ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้เลือกนายฮัสเซตต์ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (NEC) ของทำเนียบขาว ซึ่งก็คือสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ทำให้นายฮัสเซตต์ สามารถมีบทบาทในการวางแผนจัดเก็บภาษีได้ไม่แพ้นายเบสเซนต์
อย่างไรก็ดี เนื่องจากการได้รับชัยชนะของทรัมป์บางส่วนมาจากความโกรธแค้นของประชาชนเกี่ยวกับวิกฤติอัตราเงินเฟ้อหลังการระบาดของโควิดในสมัยรัฐบาลของไบเดน ทีมที่ปรึกษาจึงน่าจะแนะนำให้นายทรัมป์ใช้ความระมัดระวัง ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นในช่วงการเลือกตั้ง ได้แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าภาษีศุลกากรของทรัมป์จะได้รับความนิยม แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับประชาชนคือการลดค่าครองชีพ

ภาษีเริ่มแรกของทรัมป์อาจหลีกเลี่ยงสินค้าอุปโภคบริโภค

การที่ทรัมป์ต้องการจัดเก็บภาษีศุลกากรให้มากขึ้นก็เพื่อเพิ่มรายได้ให้มาอุดช่องว่างสำหรับการลดหย่อนภาษีอย่างมีนัยสำคัญ การขยายเวลากฎหมายปฏิรูปภาษีสหรัฐฯ ปี 2017 หรือ TCJA จะต้องมีรายได้เพิ่มเติมประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มตั้งแต่ปี 2026 จากสมมุติฐานของ Bloomberg Economics ในการเพิ่มภาษีศุลกากรจะทำให้สหรัฐฯ มีรายได้จากเพิ่มขึ้

zh_CNChinese