GBA : โอกาสอันมหาศาล สำหรับฮ่องกงและหนานซา

 

Mr. Michael Wong, Hong Kong deputy financial secretary ร่วมกับ Mr. Liu Wei, Nansha district party chief ประกาศวิสัยทัศน์ความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ในการประชุม China Conference: Greater Bay Area 2025 ระหว่างวันที่ 15 – 16 มกราคม

 

Mr. Leung Chun-ying, อดีตผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง เปิดเผยว่า ฮ่องกงและเขตหนานซาสามารถมองหา “โอกาสอันมหาศาล” จากการผสานนวัตกรรมระดับโลกกับการบูรณาการใน Greater Bay Area พร้อมตอกย้ำบทบาทของฮ่องกงในฐานะสะพานเชื่อมสำคัญของภูมิภาค

 

Mr. Leung กล่าวในงานประชุม China Conference ประจำปีของสำนักข่าว South China Morning Post (SCMP) โดยชี้ว่ามาตรการจูงใจทางภาษีของเขตหนานซา ซึ่งเป็นเขตพัฒนาพิเศษในเมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้งได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค

 

งานประชุม China Conference: Greater Bay Area 2025 ครั้งนี้จัดขึ้นที่เขตหนานซา นับเป็นก้าวสำคัญของ SCMP ในฐานะสื่อฮ่องกงรายแรกที่จัดเวทีเสวนาเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ ภายใต้แผนพัฒนาระดับชาติของรัฐบาลกลาง งานนี้ได้รับเกียรติจาก Mr. Michael Wong Wai-lun และ Mr. Liu Wei ร่วมปาฐกถาพิเศษ ท่ามกลางผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ซึ่งสองในสามเป็นผู้แทนจากต่างประเทศ รวมถึงคณะทูตระดับกงสุลใหญ่และรองกงสุลจาก 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เปรู เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี

 

ฮ่องกงกับบทบาทใน Greater Bay Area

Mr. Leung Chun-ying, the Chinese People’s Political Consultative Conference (CPPCC) กล่าวว่า แผนพัฒนาเขต Greater Bay Area จะเปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่กว้างขวางและหลากหลายสำหรับฮ่องกง เสริมความแข็งแกร่งทั้งในมิติทางภูมิศาสตร์และภาคธุรกิจ และเน้นว่า “ฮ่องกงทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโลกสู่ภูมิภาค ด้วยจุดแข็งภายใต้กรอบ ‘หนึ่งประเทศ สองระบบ’ ซึ่งช่วยให้สามารถบูรณาการกับเมืองอื่นๆ ในเขต Greater Bay Area เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน”

การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นประเด็นการพัฒนาเขต Greater Bay Area ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติที่เปิดตัวในปี 2019 โดยมีเป้าหมายเชื่อมโยงฮ่องกงและมาเก๊ากับ 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศ

 

พื้นที่หนานซา: ศักยภาพที่รอการพัฒนา

เขตหนานซาเป็นหนึ่งในสามเขตพัฒนาหลักภายใต้แผน Greater Bay Area โดยอีกสองแห่งคือเขตเชียนไห่ในเซินเจิ้น และเหิงฉินในจูไห่ ทั้งนี้ หนานซาเสนออัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 15 สำหรับธุรกิจเฉพาะ เช่น ธนาคารและโลจิสติกส์ทางเรือ ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีระดับประเทศที่ร้อยละ 25 และยังต่ำกว่าอัตราของฮ่องกงที่ ร้อยละ 16.5

 

Mr. Liu Wei เปิดเผยว่า หนานซามีพื้นที่กว่า 800 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นสองในสามของฮ่องกง และใหญ่กว่าสิงคโปร์ถึงร้อยละ 10 แม้ในปัจจุบันจะมีอัตราการพัฒนาเพียงร้อยละ 27 แต่ยังมีศักยภาพมหาศาล โดยเฉพาะท่าเรือหนานซา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของจีน

 

ในปี 2022 คณะรัฐมนตรีจีนได้เผยแพร่เอกสาร 26 ประเด็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฮ่องกง มาเก๊า และหนานซาในด้านต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพ บริการทางการเงิน การจ้างงาน การศึกษา และสวัสดิการสังคม

 

ฮ่องกงกับบทบาทด้านเทคโนโลยีและการเงิน

 

Mr. Michael Wong Wai-lun เปิดเผยถึงแผนการใช้ประโยชน์จากศูนย์เทคโนโลยีแห่งใหม่ เพื่อยกระดับความร่วมมือและประสิทธิภาพการผลิตข้ามพรมแดน โดยศูนย์เทคโนโลยีเขตความร่วมมือนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหอเถา เซินเจิ้น-ฮ่องกง (Hetao Shenzhen-Hong Kong Science and Technology Innovation Cooperation Zone) ตั้งอยู่ในพื้นที่ Lok Ma Chau Loop มีกำหนดเปิดดำเนินการภายในปลายปีนี้

 

Mr. Wong กล่าวว่า ศูนย์แห่งนี้จะดำเนินงานภายใต้แนวคิด “หนึ่งเขต สองอุทยาน” โดยมุ่งดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีจากทั่วโลก เพื่อสร้างแหล่งรวมบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ต่อยอดผลงานวิจัยและพัฒนาขั้นสูง พร้อมเร่งประสิทธิภาพการผลิตให้ก้าวกระโดด

 

 

“ฮ่องกงในฐานะตลาดหุ้น IPO ชั้นนำของโลกและศูนย์กลางพันธบัตรที่แข็งแกร่ง พร้อมต้อนรับองค์กรและนักลงทุนในเขต Greater Bay Area เพื่อใช้ศักยภาพของเมืองในการตอบโจทย์ด้านการลงทุนและเงินทุน” Wong กล่าว

 

ด้าน Mr. Pan Gongsheng, People’s Bank of China governor ประกาศชุดนโยบายเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มุ่งกระชับความเชื่อมโยงทางการเงินระหว่างฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่ พร้อมเสริมความแกร่งให้ฮ่องกงในฐานะศูนย์กลางเงินหยวนนอกประเทศ รวมถึงขยายช่องทางการลงทุนในต่างประเทศสำหรับนักลงทุนสถาบันในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเชื่อมั่นว่ามาตรการเหล่านี้จะเสริมบทบาทของฮ่องกงในการพัฒนาเขต Greater Bay Area ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

 

ข้อคิดจากการประชุม

 

การประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยการเสวนา 5 ด้าน ครอบคลุมหัวข้อด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมโยงเครือข่าย อุตสาหกรรมการผลิตไฮเทค นวัตกรรมทางการแพทย์และชีวภาพ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ พร้อมทั้งแนวทางการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่เขต Greater Bay Area

 

ผู้ร่วมเสวนาบางคนเรียกร้องให้มีการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานมีความแข็งแกร่งและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนโครงการขนาดใหญ่มูลค่ามหาศาลบางโครงการยังไม่ปรากฏบนแผนที่ แม้จะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วก็ตาม

 

ศาสตราจารย์ Alejandro Reyes จาก Asia Society Hong Kong Centre ได้แบ่งปันประสบการณ์การบรรยายให้กับเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ของสหรัฐฯ ที่ Capitol Hill เกี่ยวกับฮ่องกงและเขต Greater Bay Area โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน และมองว่าแผนดังกล่าวเป็นความพยายามของรัฐบาลปักกิ่งในการลดบทบาท หรือแม้กระทั่ง “ครอบงำ” ฮ่องกง

 

“แม้กระนั้น ผมได้รับทราบข้อมูลมากมายเกี่ยวกับธุรกิจที่ยังคงประสบความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี” ศาสตราจารย์ Reyes กล่าว

 

ผู้ร่วมเสวนาอีกกลุ่มกล่าวว่า เขต Greater Bay Area มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมทางการแพทย์และชีวภาพ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากศักยภาพด้านการวิจัยพื้นฐานของฮ่องกง รวมถึงสถานะในฐานะศูนย์กลางทางการเงิน อย่างไรก็ตาม พวกเขาชี้ว่า ภูมิภาคนี้จำเป็นต้องเร่งสร้างความบูรณาการในหลายมิติ โดยเฉพาะ การแบ่งปันข้อมูลทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

ด้าน Mr. Zhang Peiyu ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของบริษัท XtalPi ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนายาด้วยปัญญาประดิษฐ์ในเซินเจิ้น กล่าวสรุปว่า “ด้วยศักยภาพของบุคลากรในฮ่องกง เรามองเห็นโอกาสที่ดีเยี่ยมในการพัฒนายาใหม่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และอาจกลายเป็นผู้นำในระดับโลก”

 

ความคิดเห็นของ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

เขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area: GBA) เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก มีประชากรมากกว่า 70 ล้านคนและ GDP เกิน 1.97 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นฐานผู้บริโภคที่มีความมั่งคั่ง นอกจากนี้ นโยบายการค้าเสรีของเขตพื้นที่เศรษฐกิจนี้ ยังช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงและการขนส่งที่ทันสมัยของท่าเรือหลัก ทั้งท่าเรือฮ่องกงและหนานซามีความสำคัญเป็นอย่างมากในโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ซึ่งส่งเสริมการเชื่อมต่อ การค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียและทั่วโลก ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางในอาเซียน ที่สามารถใช้ประโยชน์จากการคมนาคมขนส่งที่ทันสมัยจากเส้นทางในโครงการ BRI รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมความร่วมมือทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

 

แหล่งข้อมูล: https://www.scmp.com/news/hong-kong/hong-kong-economy/article/3294790/greater-bay-area-has-immense-opportunities-hong-kong-nansha-ex-leader?module=top_story&pgtype=subsection

 

 

zh_CNChinese