รายงานตลาดซอส เครื่องจิ้มและเครื่องปรุงรสในประเทศแคนาดา

ซอส เครื่องจิ้มและเครื่องปรุงรส (SAUCE, DIPS & CONDIMENTS) ถือเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เพิ่มรสชาติให้กับอาหารที่มีติดบ้านเกือบทุกครัวเรือน โดยตลาดซอส เครื่องจิ้มและเครื่องปรุงรสในแคนาดายังมีการเติบโตที่ดี เนื่องจากการขยายตัวของสินค้าจากกลุ่มอาหารอื่นๆ ส่งผลให้ตลาดสินค้ากลุ่มนี้ซึ่งเป็นส่วนประกอบของการปรุงอาหารขยายตัวตามไปด้วย โดยผลิตภัณฑ์จะมีความหลากหลายทั้งในแง่ของประเภทและรสชาติที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดซอสและเครื่องปรุงรสในแคนาดา มาจากการขยายตัวของธุรกิจสินค้าอาหารเอเชียและร้านอาหาร จำนวนประชากรย้ายถิ่นที่เพิ่มขึ้น การเปิดกว้างทางวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวแคนาดา รวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคที่มองหาความสะดวกสบายในการประกอบอาหาร โดยหันมานิยมใช้ซอสและเครื่องปรุงรสที่ทำให้การปรุงอาหารได้รสชาติที่อร่อยและรวดเร็วขึ้น

จากข้อมูล Euromonitor แสดงมูลค่าการจำหน่ายค้าปลีกผลิตภัณฑ์ซอส เครื่องจิ้มและเครื่องปรุงรสในตลาดแคนาดาปี 2567 อยู่ที่ราว 3,465 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5,108 ล้านดอลลาร์แคนาดา) ขยายตัวร้อยละ 6 จากปีก่อน และคาดการณ์ว่าปี 2568 จะขยายตัวไปที่มูลค่า 5,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,399 ล้านดอลลาร์แคนาดา) ด้วยอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ระหว่างปี 2568-2573 อยู่ที่ร้อยละ 6.55 ต่อปี

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซอส (sauce) มีมูลค่ายอดจำหน่ายค้าปลีกมากสุด คิดเป๋นมูลค่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,599 ล้านดอลลาร์แคนาดา) ขณะที่ผลิตภัณฑ์เครื่องจิ้ม (Dip) มีอัตราการเติบโตมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 7  ทั้งนี้ บริษัท Kraft Heinz Canada จัดเป็นผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายซอส น้ำจิ้มและเครื่องปรุงรสในตลาดแคนาดา โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบ อาทิ ซอสมะเขือเทศ (Ketchup) ซอสมะเขือเทศเข้มข้น (Tomato Paste) ได้รับความนิยมมากสุด

 แนวโน้มผู้บริโภค

ตลาดซอส เครื่องจิ้ม และเครื่องปรุงรส (SAUCE, DIPS & CONDIMENTS) ในแคนาดามีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ตลาดซอส เครื่องจิ้ม และเครื่องปรุงรสวางจำหน่ายให้ผู้บริโภคเลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลาย ซึ่งจากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคแคนาดาสำหรับตลาดดังกล่าว พบว่า เทรนด์การบริโภคอาหารเผ็ดร้อน และเครื่องปรุงรสที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถตอบโจทย์ความต้องการของชาวแคนาดาได้ดี

  1. การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการบริโภค และนวัตกรรมอาหารตอบโจทย์ที่ดีขึ้น : ผู้บริโภคมักมองหาความสะดวกสบายในการทำอาหาร โดยการใช้ซอสและเครื่องปรุงรสที่สามารถทำให้การปรุงอาหารได้รสชาติที่อร่อยและเร็วขึ้น นอกจากนั้น พฤติกรรมการบริโภคของชาวแคนาดาในปัจจุบันที่หันมาปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น เกิดจากความกังวลต่อความมั่นคงด้านการเงินในปัจจุบัน รวมถึงค่าครองชีพและราคาค่าบริการสำหรับการรับประทานอาหารนอกบ้านที่สูงขึ้นมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาจับจ่ายสินค้าอาหารสดและเครื่องปรุงอาหารจากห้างค้าปลีกมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการได้พัฒนารสชาติ ความหลากหลายและความสะดวกการใช้งานของซอส น้ำจิ้มและเครื่องปรุงรสในปัจจุบันนี้
  2. เทรนด์สุขภาพ: ผู้บริโภคในแคนาดาให้ความสำคัญกับการเลือกซอสและเครื่องปรุงรสที่ปราศจากสารกันบูด หรือสารปรุงแต่งเทียม และเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ซอสออร์แกนิก ซอสปราศจากกลูเตน ซอสที่ไม่มีน้ำตาล รวมไปถึงซอสในกลุ่ม Plant base เช่น มายองเนสที่ปราศจากไข่เป็นส่วนผสม เป็นต้น
  3. การขยายตัวของอาหารเอเชียและอาหารต่างชาติ: อาหารจากวัฒนธรรมต่างๆ เช่น อาหารจีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, เวียดนาม, ไทย และเม็กซิกัน ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในแคนาดา ทำให้ซอสและเครื่องปรุงรสจากประเทศเหล่านี้ได้รับความสนใจอย่างมาก เช่น ซอสถั่วเหลือง, ซอสสไปซี่, ซอสซัมบัล, ซอสแทสกี้, หรือซอสทาโก้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กลุ่มซอสเผ็ด (สไปซี่) สูตรที่มีรสชาติต่างๆ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ความนิยมในการผสมผสานอาหารจากหลากหลายวัฒนธรรม ทำให้ซอสและเครื่องปรุงรสเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ที่มีรสชาติหลากหลายและแตกต่าง
ผลิตภัณฑ์

จากข้อมูล Euromonitor International แสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ซอส เครื่องจิ้มและเครื่องปรุงรสในตลาดแคนาดา โดยแยกออกเป็นกลุ่มประเภทหลักๆ ตามความนิยมและสัดส่วนการจำหน่ายในประเทศ ดังนี้

  • ซอส (Sauces) ได้แก่ ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ซอสบาร์บีคิว น้ำสลัด ซีอิ้วขาว น้ำปลา เป็นต้น โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอสถือว่ามีมูลค่าการจำหน่ายในตลาดแคนาดาสูงที่สุด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องปรุงหรือเครื่องจิ้มอื่นๆ โดยมีมูลค่าการจำหน่าย 1,795 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,600 ล้านดอลลาร์แคนาดา) หรือคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 51.82 แบรนด์หลักในตลาดซอสและเครื่องปรุง ได้แก่ Heinz, McCormick, Tabasco, และ Kikkoman ได้รับความนิยมอย่างสูงและมีบทบาทสำคัญในกำหนดทิศทางและแนวโน้มของตลาดซอสและเครื่องปรุงที่ทำให้ตลาดนี้เติบโต จากการปรับตัวของผู้ผลิตที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • เครื่องปรุงรส (Condiments) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติที่หลากหลายใช้สำหรับการประกอบอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติ และสีสรรให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น บรรจุในลักษณะของแห้งหรือของเหลว ได้แก่ เครื่องเทศสมุนไพร ผงปรุงรส ซุปใส/ซุปก้อน/ซุปผง เกลือ พริกไทย ผงชูรส มัสตาร์ด มายองเนส และซอสปรุงอาหาร (Cooking sauce) ฯลฯ ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่ายในตลาดแคนาดาปี 2567 คิดเป็น 517 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (750.1 ล้านดอลลาร์แคนาดา) สัดส่วนราวร้อยละ 15 ของมูลค่าค้าปลีกตลาดซอสและเครื่องปรุงรสทั้งหมด
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องจิ้ม (Dips) ในปี 2567 เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดในตลาดซอส น้ำจิ้ม และเครื่องปรุงรส เติบโตร้อยละ 7.3 จากปีก่อนหน้า โดยขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ในช่วงปี 2562-2567 เนื่องจากความสะดวกของผู้บริโภค และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เครื่องจิ้ม (Dips) ที่ออกมาจำหน่าย จึงทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเมนูเครื่องจิ้มนานาชาติ อาทิ ซัลซา (Salsa) กัวคาโมเล (Guacamole) ปาเต้ (Pâte) ซาซิกี (Tzasiki) ฮัมมุส (Hummus)

นอกจากผลิตภัณฑ์ซอส เครื่องจิ้มและเครื่องปรุงรส ใน 3 กลุ่มหลักตามข้างต้นแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวแคนาดาเช่นกัน อาทิ ผลิตภัณฑ์หมักดอง (Pickled Products) กลุ่มซอสเครื่องปรุงต่างชาติ เช่น อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี อาหารเม็กซิกัน อาหารไทย เป็นต้น

สถานการณ์ตลาด / สภาพการแข่งขัน

ภาพรวมตลาดซอส น้ำจิ้มและเครื่องปรุงรสในตลาดแคนาดามีการแข่งขันที่สูงจากผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ผู้ผลิตต้องคิดค้นและพัฒนารสชาติผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความแปลกใหม่ และมีความสนใจในอาหารนานาชาติที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขณะเดียวกัน ยังต้องคำนึงถึงราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในการแข่งขันของตลาด และการสร้างภาพลักษณ์สินค้าให้มีความน่าสนใจในระดับพรีเมียม และง่ายต่อการจดจำของผู้บริโภค

บริษัท Kraft Heinz Canada จำกัด จัดเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซอส เครื่องจิ้ม และเครื่องปรุงรสในแคนาดา ด้วยส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26.30 ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด รองลงมา คือ บริษัท McCormick Canada Inc. มีครองส่วนตลาดร้อยละ 10 และบริษัท Frito-Lay ครองสัดส่วนร้อยละ 6.4 ตามลำดับ

หากพิจารณาในส่วนแบรนด์ของซอส เครื่องจิ้ม และเครื่องปรุงรส พบว่า แบรนด์ Kraft มีสัดส่วนยอดขายเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยแบรนด์ Club house, แบรนด์ Tostitos, แบรนด์ Heinz, แบรนด์ President’s choice ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Kraft ที่สามารถพบเห็นสินค้าได้แพร่หลายในห้างค้าปลีกและร้านอาหารแคนาดา อาทิ ซอสมะเขือเทศ น้ำสลัด มายองเนส มัสตาร์ด ผลิตภัณฑ์เนยถั่ว ฯลฯ

สำหรับผลิตภัณฑ์ซอส เครื่องจิ้มและเครื่องปรุงรสที่วางจำหน่ายในแคนาดามาจากการผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสหรัฐฯ เป็นแหล่งส่งออกซอสและเครื่องปรุงรสรายหลัก ด้วยสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 75 จากการนำเข้าทั่วโลก เมื่อพิจารณาข้อมูลสถิติการค้าของแคนาดาปี 2567 ได้รายงานมูลค่าการนำเข้าสินค้าหมวดซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส ของผสมที่ใช้ปรุงรส และของผสมที่ใช้ชูรส ผงละเอียดและผงหยาบของมัสตาร์ด และมัสตาร์ดปรุงแต่ง อาทิ ผงปรุงรส น้ำปลา น้ำมันหอย เครื่องแกง ซอสพริก (HS: 2103) คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,106.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.86 จากปีก่อนหน้า โดยตลาดผู้ส่งออกหลัก เรียงลำดับได้ดังนี้

ลำดับ

 

ประเทศ มูลค่าปี 2566

(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

มูลค่าปี 2567

(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วนตลาด

 ปี 67 (%)

เปลี่ยนแปลง

(%)

–โลก– 1,026.08 1,106.72 100 7.86
1 美国 781.87 834.65 75.42 6.75
2 意大利 43.37 53.92 4.87 24.32
3 中国 32.38 35.28 3.19 8.94
4 ไทย 20.48 19.24 1.74 -6.05
5 墨西哥 15.44 18.39 1.66 19.11

ที่มา 2025 S&P Global

สำหรับการนำเข้าหมวดซอสและของปรุงแต่งจากไทยมาแคนาดาปี 2567 คิดเป็นมูลค่า 19.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยอัตราร้อยละ 6.05 จากป 2566 คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 1.74 จากทั่วโลก อย่างไรก็ดี การนำเข้าซอสและเครื่องปรุงจากไทยยังขยายตัวเทียบกับช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า จากการขยายตัวอาหารเอเชีย และอิทธิพลจากสื่อต่างๆ เช่น รายการอาหาร รีวิวอาหาร และบล็อกเกอร์อาหารนำเสนอเมนูอาหารไทยที่ดึงดูดความสนใจ หากพิจารณารายสินค้าย่อย พบว่า สินค้าหมวดซอสอื่นๆ (HS 2103.90) อาทิ น้ำปลา น้ำจิ้มไก่ ซอสพริก ซอสหอยนางรม มีการนำเข้าในสัดส่วนมากที่สุด ร้อยละ 97.37 รองลงมา คือ ซีอิ๊วขาว สัดส่วนร้อยละ 1.86 ดังตาราง

HS code ผลิตภัณฑ์ มูลค่า

(ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

สัดส่วน 

 %

เปลี่ยนแปลง

%

2566 2567 2567 67/66
2103 Sauces and preparations therefor 20.49 19.25 100.00 -6.05
1 210390 ซอสอื่นๆ 20.07 18.74 97.37 -6.63
2 210310 ซอสถั่วเหลือง 0.33 0.36 1.86 7.48
3 210320 ซอสมะเขือเทศ 0.08 0.13 0.68 72.00
4 210330 มัสตาร์ด 0.01 0.02 0.09 158.23

หากไม่นับรวมสหรัฐฯ ไทยถือเป็นแหล่งนำเข้าซอสและเครื่องปรุงรสลำดับต้นๆ ของแคนาดา โดยสินค้าอาหารของไทยมีการวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในแคนาดา ครอบคุลมทั้งซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตเอเชีย ร้านของชำทั่วไป และร้านสินค้าอาหารเอเชียขนาดกลาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซอสจากไทยที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ น้ำปลา น้ำจิ้มไก่ ซอสพริก ซอสผัดไทย น้ำจิ้มสุกี้ ซอสปรุงรส โดยตัวอย่างราคาจำหน่ายปลีกซอสและเครื่องปรุงรสจากไทย สำรวจจากร้านค้าปลีก ณ เดือนมีนาคม 2567 ปรากฏดังนี้ (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์แคนาดา = 24 บาท)

  • น้ำปลา: แบรนด์ปลาหมึก C$89 (725 ml) แบรนด์เมกาเชฟ C$9.49 (700 ml)
  • น้ำจิ้มไก่: แบรนด์แม่พลอย C$19 (730 ml)
  • ซีอิ๊วขาว: แบรนด์เด็กสมบูรณ์ C$49 (700 ml)
  • ซีอิ๊วดำหวาน: แบรนด์เด็กสมบูรณ์ C$79 (970 กรัม) แบรนด์แมลงปอ C$4.99 (21 ออนซ์)
  • เต้าเจี้ยว: แบรนด์เด็กสมบูรณ์ C$69 (800 ml)
  • ซอสพริก: flying Goose C$6.99 (730 ml) แบรนด์เชฟช้อยส์ C$99 (480 ml)
  • ซอสผัดไทย: แบรนด์พันท้าย C$6.49 (730 ml) แบรนด์แม่พลอย C$99 (520 กรัม)
  • น้ำจิ้มสุกี้: แบรนด์พันท้าย C$49 (730 ml)
  • ซอสต้มยำ: แบรนด์อร่อยดี C$89 (400 กรัม)
  • เครื่องแกงสำเร็จรูป: แบรนด์อร่อยดี C$69 (400 กรัม) แบรนด์เชฟช้อยส์ C$2.99 (400 กรัม)
ช่องทางการจำหน่าย

ช่องทางหลักในการจัดจำหน่ายซอส น้ำจิ้มและเครื่องปรุงรสส่วนใหญ่จะผ่านทางห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (mainstream) ถือเป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคกว้างขวาง และมีการจัดโปรโมชั่นสินค้าทั้งปี รองลงมาจะอยู่ในกลุ่มร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ร้านค้าปลีกอาหาร Ethnic โดยเฉพาะ ร้านจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด (Discount Store) โดยทั่วไป ห้างค้าปลีกจะนำเข้าสินค้าเองหากมีปริมาณการจำหน่ายที่ค่อนข้างสูง หรืออาจจะสั่งซื้อสินค้าผ่านผู้นำเข้าสินค้าอาหารที่กระจายตัวในประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ซอสและของปรุงแต่งจากไทย ส่วนมากจะเป็นการนำเข้าผ่านผู้นำเข้าสินค้าอาหารเอเชียในประเทศซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลัก อาทิ โทรอนโต แวนคูเวอร์ และมอนทรีออล และจัดจำหน่ายเพื่อกระจายสินค้าไปสู่ร้านค้าปลีกในเมืองหลักและเมืองรองต่อไป (รายชื่อผู้นำเข้าในเอกสารแนบ)

นอกจากนั้น ผู้ผลิตและจำหน่ายซอส ยังคงทำการตลาดสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อแสดงให้ผู้ซื้อเห็นถึงวิธีการใช้ซอสและเครื่องปรุงรสต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสจากต่างชาติที่ผู้ผลิตจำเป็นให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ วิธีและปริมาณการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อที่ผู้บริโภคสามารถนำไปประกอบอาหารได้ใกล้เคียงกับรสชาติอาหารดั้งเดิมได้ดี

แนวโน้ม และโอกาสสำหรับผู้ผลิตของไทย

เมื่อตลาดผลิตภัณฑ์ซอส น้ำจิ้มและเครื่องปรุงรสในตลาดแคนาดามีแนวโน้มขยายตัวได้ จากปัจจัยส่งเสริม อาทิ พฤติกรรมการบริโภคที่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว ความสนใจอาหารนานาชาติ รวมไปถึงการประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้านบ่อยครั้งขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่และรายย่อยต่างมองหาโอกาสที่จะเข้าสู่ตลาดซอสและเครื่องปรุงรส โดยพยายามพัฒนาสินค้าที่มีจุดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น ศึกษาตลาดเพื่อให้สอดคล้องความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

  • การพัฒนาใหม่ๆ: ผู้ผลิตซอสและเครื่องปรุงรสมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ซอสไร้น้ำตาล ซอสออร์แกนิก และซอสที่มีส่วนผสมจากพืช
  • การเติบโตของตลาดออนไลน์: สื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะผู้บริโภคต่างชาติมักจะไม่มีความรู้ต่อการเลือกซื้อ และวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารจากต่างชาติ ดังนั้น การที่ผู้เชี่ยชาญหรือเชฟที่มีชื่อเสียงมาแนะนำผลิตภัณฑ์ใดๆ นั้น ส่งผลให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตามมา
  • ราคา: ราคาจำหน่ายปลีกสินค้าซอสและเครื่องปรุงรส จะขึ้นอยู่กับประเภทผลิตภัณฑ์ คุณภาพ และรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก โดยในช่วง 4-5 ปีทีผ่านมา ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากไทย

โอกาสสำหรับผู้ผลิต/ส่งออกของไทย

สำหรับการส่งออก ตลาดซอสและเครื่องปรุงรสของประเทศไทยสามารถเติบโตได้ในระยะยาว รวมถึงปัจจุบันนี้เครื่องปรุงรสของประเทศไทยเริ่มวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ พร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการในไทยที่จะขยายตลาดการส่งออก

จากข้อมูลสถิตินำเข้าสินค้ากลุ่มซอสและเครื่องปรุงประเภทต่าง ๆ ในแคนาดานับได้ว่า ประเทศไทยยังมีโอกาสและช่องทางการขยายตลาดมายังแคนาดา อย่างไรก็ดี ผู้ผลิต/ส่งออกไทยจะต้องทำการศึกษาตลาดกลุ่มผู้บริโภคและความต้องการของสินค้า  โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มซอสและเครื่องปรุงประเภทต่าง ๆ มีดังนี้

  • ด้านสุขภาพ (Health) ผู้บริโภคแคนาดาเริ่มตระหนักถึงความใส่ใจในการรักษาสุขภาพมากขึ้น จะคำนีงถึงส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ และอ่านฉลากติดแนบผลิตภัณฑ์เพื่อศึกษาถึงส่วนผสม และคุณค่าทางโภชนาการ  จากการสำรวจตลาดสินค้ากลุ่มเครื่องปรุง ซอสประเภทต่าง ๆ ในตลาดแคนาดา จะสามารถเห็นสินค้าซอสต่างๆ ประเภท Less Sodium หรือ Less Salt วางจำหน่ายคู่กับประเภททั่วไป เพื่อทางเลือกทางหนึ่งให้กับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ
  • รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่สะดวกต่อการใช้ ผู้บริโภคแคนาดามีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่สามารถเปิดใช้ได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์อื่นสำหรับการเปิดใช้ ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออกควรตระหนักบรรจุภัณฑ์ของซอสและเครื่องปรุงรสที่สะดวกต่อการเปิดใช้ พร้อมฉลากกำกับที่แสดงรายละเอียดผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจวิธีการใช้อย่างง่าย
  • คุณภาพ และรสชาติชั้นดี เนื่องจากผู้บริโภคแคนาดามีโอกาสท่องเที่ยวต่างชาติ และได้รับประทานอาหารต่างชาติ รวมทั้งอาหารไทยในประเทศไทยจนเป็นที่พึงพอใจ จึงเกิดความสนใจในการสรรหาเครื่องปรุงอาหารท้องถิ่นมาเพื่อปรุงรับประทานเองและสำหรับครอบครัว ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและรสชาติดี เพื่อการประกอบอาหารให้ใกล้เคียงรสชาติดั้งเดิมมากสุด
  • ผลิตภัณฑ์ประเภทเกษตรอินทรีย์ (Organic) จากกระแสความนิยมรักษาสุขภาพของผู้บริโภคแคนาดาที่ขยายตัว ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic) เป็นที่นิยมของตลาด โดยมีการขยายตัวจากกลุ่มผู้บริโภคจำเพาะกลุ่ม (niche market) ไปถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างขึ้น (mainstream) ทั้งนี้ ร้านค้าปลีกขนาดกลางและใหญ่จำนวนมากในแคนาดาจะมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทเกษตรอินทรีย์ (Organic) เพื่อเพิ่มตัวเลือกการจับจ่ายให้กับผู้บริโภค

ความเห็น / ข้อเสนอแนะ

ผลิตภัณฑ์ซอสและเครื่องปรุงประเภทต่างๆ เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการตลาดที่ดี ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออกสินค้าดังกล่าว จากแนวโน้มความต้องการซอสและเครื่องปรุงในตลาดแคนาดา พบว่า ซอสพริกได้รับความนิยมนำไปใช้ปรุงอาหารมากขึ้น เพราะเทรนด์การบริโภคอาหารเผ็ดร้อนกำลังเป็นที่นิยม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสนใจกับอาหารรสเผ็ดมากขึ้น เกิดจากความนิยมในการท่องเที่ยว การติดตามภาพยนตร์ ซีรีย์หรือคลิปวิดีโอต่างๆ จากทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาศักยภาพการแข่งขันในระยะข้างหน้า ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้าอาหารไทยจะต้องสนใจและติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค แนวโน้มความนิยม ตลอดทั้งการเลือกใช้ส่วนประกอบ การพัฒนาสูตรอาหารและเครื่องปรุงให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ความนิยมตลอดเวลา อาทิ ผู้บริโภคแคนาดาให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพ ดังนั้น ผู้ผลิตและส่งออกไทย ควรตระหนักด้านการใช้ส่วนผสมเพื่อสุขภาพ เช่น การนำสมุนไพรไทยมาใช้เป็นส่วนผสม เพื่อมาทดแทนซอสปรุงรสประเภทไขมันสูง รวมทั้งการผลิตเครื่องปรุง ซอสต่างๆ ในแบบ Less sodium, Less sugar หรือ less salt นอกจากนั้น ควรเพิ่มยอดขายไปยังทุกช่องทาง เพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย ด้วยวิธีที่แตกต่างจากเดิมหรือหลายหลายมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

———————————————————————————————-


温哥华海外贸易促进办公室

มีนาคม 2568

zh_CNChinese